ผลการขยายการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง การศึกษาของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง, นวัตกรรมการบูรณาภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ, ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, นักเรียนชาติพันธุ์บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการขยายผลการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษที่คณะนักวิจัยได้ดำเนินการในปีการศึกษา 2561 ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวได้นำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน ในจังหวัดพะเยา ผลปรากฏว่านักเรียนฯ มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและเขียนประโยคได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ คณะนักวิจัยจึงได้ขยายการใช้นวัตกรรมฯ ให้ครูภาษาอังกฤษที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในจังหวัดพะเยานำไปใช้ในชั้นเรียนในปีการศึกษา 2563 คณะนักวิจัยติดตามและประเมินผลหลังการใช้จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากต่างโรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพะเยา เขต 1 และ 2 จำนวน 6 คน 2) ผู้อำนวยการโรงเรียนของโรงเรียนที่ครูผู้สอนสังกัดอยู่จำนวน 6 คน และ 3) นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 36 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการประเมินนวัตกรรมประกอบด้วย 1) แบบประเมินนวัตกรรมประมาณค่า 5 ระดับสำหรับครูฯ และผู้อำนวยการฯ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับครูฯ 3) แบบสะท้อนคิดของครู 4) แบบสังเกตการสอนของคณะนักวิจัยและ 5) แบบสอบถามปลายเปิดสำหรับนักเรียนฯ ครูทั้ง 6 คนได้รับการอบรมการใช้นวัตกรรมก่อนนำไปใช้จริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมฯได้รับการประเมินจากครูและผู้อำนวยการโรงเรียนในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) ครู 5 คน สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมในชั้นเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียนได้ 3) นักเรียนตระหนักในประโยชน์ของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้นวัตกรรมฯ และต้องการให้ครูใช้นวัตกรรมฯ กับนักเรียนชั้นอื่น ๆ ต่อไป นอกจากนี้คณะนักวิจัยยังมุ่งหวังให้ผู้อำนวยการกำหนดนโยบายหรือแนวทางให้ครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษได้ใช้นวัตกรรมดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ
References
ดารินทร อินทับทิม, อภิญญา ห่านตระกูล, ศุภาวรรณ ปิงใจ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, พูนพงษ์ งามเกษม และ เฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนเมี่ยนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมนด้วยกระบวนการสอนแบบโฟนิกส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 67-84.
ดารินทร อินทับทิม. (2563). การพัฒนาสื่อเสริมการเรียนรู้ด้วยภาพชุดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาในบริบทโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 26(4), 13-28.
ดารินทร อินทับทิม. (2564). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยนิทานพื้นบ้าน 2 ภาษาของกลุ่มครูผู้สอนสาระภาษาไทยและภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษา กลุ่มเมืองพะเยา 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 29-55.
ดารินทร อินทับทิม, นริศา ไพเจริญ, พิชญ์สินี เสถียรธราดล, เกริก เจษฎานุวัฒน์ และน้ำฝน กันมา. (2565). การขยายผลการใช้นวัตกรรมการบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง การศึกษาของนักเรียนชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา. (2566). งานวิจัยนานาชาติชี้ ‘แนวโน้มความเหลื่อมล้ำทั่วโลกอยู่ในช่วงขาลง’ แต่ไทยยังไม่พ้นวิกฤต ทางออกคือ ‘การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่’ สร้าง Game Changers พลิกโฉมการศึกษาไทย. สืบค้น 14 สิงหาคม 2566, จาก https://www.eef.or.th/news-110823/?fbclid=IwAR3OEuBRfrHE19xQvOzCPXP5UjA7ohVEMsBBvvO--PDm1dsqKCr9KjQKQjU.
พิชญ์สินี เสถียรธราดล, นริศา ไพเจริญ, เกริก เจษฎานุวัฒน์ และดารินทร อินทับทิม. (2565). การใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการภาษาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถทางการออกเสียง คำศัพท์และการแต่งประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 11(1), 180-201.
พูนพงษ์ งามเกษม, วรวรรธน์ ศรียาภัย, จารุวรรณ เบญจาทิกุล, พรสวรรค์ สุวรรณธาดา, ดารินทร อินทับทิม และ จิตติมา กาวีระ (2559). กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน. วารสารวิชาการรมยสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 233-241.
สมหมาย ปาริจฉัตต์. (2561, 31, มกราคม). ล่องสาละวิน...เยือนโรงเรียน I see U การศึกษาระหว่างเด็กต่างชาติพันธุ์. มติชนสุดสัปดาห์, จากhttps://www.matichonweekly.com/column/article_79173.
อภิญญา ห่านตระกูล, พิชญ์สินี เสถียรธราดล, นริศา ไพเจริญ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, เฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ และ ดารินทร อินทับทิม. (2564). จากการบูรณาการภาษาศาสตร์สู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(2), 87-109.
Ajzen, I. (1991). Attitude, Personality, and Behavior. Milton: Open University Press.
Darasawang, P., Reinders, H., and Waters, A. (2015). Innovation in language teaching: The Thai context. In P. Darasawang and H. Reinders (Eds.). Innovation in language learning and teaching: The Case in Thailand. New York, NY: Palgrave Macmillan, 1-14.
Kennedy, C. (2013). Models of Change and Innovation. In K. Hyland and L. L. C., Wong (Eds.). Innovation and Change in English Language Education. New York, NY: Routledge, 13-27.
Sathientharadol, P. (2020). The use of semantic field approach to enhance English vocabulary development of Prathomsuksa 4 students at Betty Dumen Border Patrol Police School, Phayao Province, Thailand. Interdisciplinary Research Review, 15(6), 22-30.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.