โครงสร้างคำสมาสในมหาชาติคำหลวง

ผู้แต่ง

  • ศราวุธ หล่อดี สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • ณัฐวดี ทุมขันธ์ สาขาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

โครงสร้าง, คำสมาส, มหาชาติคำหลวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างคำสมาสในมหาชาติคำหลวง ด้านจำนวนคำ วิธีการสร้างคำ และชนิดของคำ เก็บรวบรวมข้อมูลคำสมาสจากคำอธิบายศัพท์ในพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยอยุธยา มหาชาติคำหลวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมวดอักษร ก-ฮ พบคำสมาส 107 คำ จากนั้นนำคำสมาสไปวิเคราะห์โครงสร้างตามประเด็นดังกล่าว และเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์และแสดงสถิติประกอบผลการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างคำสมาสแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) โครงสร้างคำสมาสที่มี 2 คำ พบ 5 แบบหลัก 2) โครงสร้างคำสมาสที่มี 3 คำ พบ 7 แบบหลัก 3) โครงสร้างคำสมาสที่มี 4 คำ พบ 2 แบบหลัก ทั้งนี้โครงสร้างที่พบมากที่สุดในแต่ละกลุ่ม คือ 1) นาม + นาม 2) นาม + นาม + นาม 3) นาม + นาม + นาม + วิเศษณ์ และ วิเศษณ์ + นาม + วิเศษณ์ + นาม เมื่อพิจารณาจำนวนการใช้โครงสร้างคำสมาสทั้ง 3 กลุ่ม พบการใช้โครงสร้างคำสมาสที่มี 2 คำมากที่สุด รองลงมาเป็นโครงสร้างคำสมาสที่มี 3 คำ และโครงสร้างคำสมาสที่มี 4 คำ ตามลำดับ

References

จงชัย เจนหัตถการกิจ. (2551). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

จันจิรา เซี่ยงฉิน. (2550). คำสมาสในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.), มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ณัฐา วิพลชัย. (2558). ลักษณะคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่อง พระมหาชาดกคำกาพย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 17-45.

นววรรณ พันธุเมธา. (2558). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัญญัติ สาสี. (2553). คำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย: กรณีศึกษามหาชาติคำหลวง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.), มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พระมหาสาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. (2552). การวิเคราะห์คำสมาสในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พระยาอุปกิตศิลปสาร. (2545). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2553). นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยอยุธยา มหาชาติคำหลวง. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

วัลยา ช้างขวัญยืน. (2549). หนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำและการยืมคำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2534). โครงสร้างของภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศราวุธ หล่อดี. (2558). คำยืมภาษาสันสกฤตในนิทานเวตาล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 3(2), 30-41. ได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/200560/140196

สยาม ภัทรานุประวัติ. (2550). ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย: ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีย์ สหชาติโกสีย์. (2521). เทียบลักษณะคำบาลีสันสกฤตกับคำไทย สมาสและตัทธิต. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-24

How to Cite

หล่อดี ศ., & ทุมขันธ์ ณ. (2020). โครงสร้างคำสมาสในมหาชาติคำหลวง. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 8(2), 89–107. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/248117