แนวทางการจัดเรียนรู้บูรณาการสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนอุดมดรุณี

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา ตาดเงิน สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชรินทร์ มั่งคั่ง ภาควิชาหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • แสวง แสนบุตร ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเรียนรู้บูรณาการ, ความเป็นพลเมืองสิ่งแวดล้อม, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้สภาพการจัดการเรียนรู้บูรณาการสิ่งแวดล้อมของนักเรียน 2 ) เพื่อศึกษาทักษะความเป็นพลเมืองสิ่งแวดล้อมของนักเรียน และ 3 ) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้บูรณาการสิ่งแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียนอุดมดรุณี จังหวัดสุโขทัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนอุดมดรุณี จังหวัดสุโขทัย จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้บูรณาการสิ่งแวดล้อม โดยแสดงเป็นสถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้สภาพการจัดการเรียนรู้บูรณาการสิ่งแวดล้อมของนักเรียน ในโรงเรียนอุดมดรุณี จังหวัดสุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ทักษะความเป็นพลเมืองสิ่งแวดล้อมของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) แนวทางการจัดการเรียนรู้บูรณาการสิ่งแวดล้อมของนักเรียน โดยเรียงตามรายข้อที่มีผู้เสนอความคิดเห็นมากที่สุดถึงน้อยที่สุด ดังนี้ 1) การใช้ข้อมูลความจริงจากกระบวนการสังเกต ตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อเชื่อมโยงไปสู่สาระการเรียนรู้ 2) การสร้างทักษะการสืบค้น รวบรวมความรู้และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม 3) การสร้างเจตคติที่ดี มีจิตสาธารณะและจริยธรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4) การสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและท้องถิ่น 5) การบูรณาการความรู้ของเนื้อหาสาระที่มีความซ้ำซ้อน 6) บูรณาการแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน 7) ครู นักเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน 8) การสร้างความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และ 9) ผลกระทบที่เกิดขึ้นและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือแนวทางดำเนินงานโรงเรียน Eco-schoo.สืบค้น 25 ตุลาคม 2561, จาก https://www.deqp.go.th/media/36332/eco-schooththai-guide.pdf.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). การถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียวของผู้เรียนในพื้นที่โครงการหลวงภาคเหนือของไทย. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(1), 1503-1521.

ฐากร สิทธิโชค. (2559). การจัดกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาในสถานศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(ฉบับพิเศษ), 177-197.

นฤมล อภินิเวศ และคณะ. (2555). แนวทางสร้างสรรค์ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-School). กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิตสำหรับการวิจัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐาน ของการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พิชญา ปิยจันทร์. (2560). สิ่งแวดล้อมศึกษา: กระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำอย่างเท่าเทียม. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา, 21(3), 38-42.

วินัย วีระวัฒนานนท์. (2546). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุทธิพงศ์ นิพัทธนานนท์. (2556). แนวทางในการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามกรอบของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เสรี วรพงษ์. (2557). สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1(1), 161-176.

Meaghan Guckian. (2017). Beyond Green Consumerism: Uncovering the Motiva-tions of Green Citizenship. Retrieved August 26, 2019, From https://quod.lib.umich.edu/m/mjs/12333712.0005.105?view=text;rgn=main.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-28

How to Cite

ตาดเงิน ร., มั่งคั่ง ช., & แสนบุตร แ. (2021). แนวทางการจัดเรียนรู้บูรณาการสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนอุดมดรุณี. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 9(2), 53–71. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/222373