การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงผ่านการสอน โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาปรัชญาการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปณตนนท์ เถียรประภากุล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดขั้นสูง , ห้องเรียนกลับด้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาในรายวิชาปรัชญาการศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัยเบื้องต้น โดยดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ลงทะเบียนในรายวิชาปรัชญาการศึกษา ในภาคการศึกษาที่ 2/2561 สาขาวิชาภาษาอังกฤษและจิตวิทยาฯ จำนวน 1 กลุ่ม รวม 15 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดขั้นสูง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t – test Dependent Sample ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาในรายวิชาปรัชญาการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า นักศึกษาที่ผ่านการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านมีทักษะการคิดขั้นสูงสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2549). การนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างการคิดขั้นสูงของนิสิตนักศึกษาครูระดับปริญญาตรี สำหรับหลักสูตรครุศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ สุปินานนท์. (2558). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษาในรายวิชา FEM313 การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วารสารราชพฤกษ์, 13(3), 51-56.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตรภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการนำจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

วสันต์ ศรีหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(65), 19-28.

วิจารณ์ พานิช. (2557). Flip classroom ห้องเรียนกลับด้าน. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.schoolguide.in.th/index.php?option=com_school&view=contentdetail&id=35& Itemid=56.

อาลาวีย๊ะ สะอะ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อุไร จักษตรีมงคล. (2556). การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดสําหรับการประเมินคุณภาพผูเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

McCallum, S., Schultz, J., Sellke, K. & Spartz, J. (2015). An Examination of the Flipped Classroom Approach on College Student Academic Involvement. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education, 27(1), 42.

World Economic Forum. (2014). The global competitiveness report 2013 - 2014. Retrieved November 25, 2018, Form http://www.weforum.org.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29

How to Cite

เถียรประภากุล ป. (2021). การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงผ่านการสอน โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาปรัชญาการศึกษา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 9(2), 72–86. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/215826