การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (m-Learning) ในมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กลชาญ อนันตสมบูรณ์ โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำนักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
  • สำราญ ไชยคำวัง โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำนักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
  • กฤษณะ สมควร โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำนักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
  • ประสิทธิ์ สารภี โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำนักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
  • ชลิดา จันทจิรโกวิท โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำนักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100

คำสำคัญ:

การสร้างบทเรียน, การศึกษาออนไลน์, การเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือบริหารจัดการระบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สอนและผู้เรียนที่มีต่อระบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคืออาจารย์ และกลุ่มที่สองคือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ (1) ระบบบริหารจัดการระบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  (2) แบบประเมินความพึงพอใจระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นที่ 1 อาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ สามารถเพิ่มช่องทางติดตามบทเรียนแก่ผู้เรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในห้องเรียนได้ตลอดเวลา รองลงมาคือ ระบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (m-Learning) ทำให้ผู้สอนติดตามผู้เรียนเข้าศึกษาบทเรียนได้ตลอดเวลา และความพึงพอใจอันดับสุดท้ายคือ ระบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (m-Learning) มีความสะดวกในการจัดการบทเรียนในแต่ละภาคเรียน ประเด็นที่ 2 นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ระบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (m-Learning) สามารถเพิ่มช่องทางในการเรียนรู้นอกเหนือจากการนั่งเรียนในห้องเรียน รองลงมาคือระบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (m-Learning) สามารถเพิ่มช่องทางในการเรียนรู้นอกเหนือจากการนั่งเรียนในห้องเรียน และอันดับสุดท้ายคือ ระบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (m-Learning) เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียน การสอน

References

ชนะศึก โพธิ์นอก. การจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายไร้สาย (M-Learning). สืบค้นข้อมูลเมื่อ 27 มีนาคม 2558. จาก http://090803.wikispaces.com/Chanasuk+Ponork

พูลศรี เวศย์อุฬาร.Mobile Learning (m learning) เอ็มเลิร์นนิ่ง – การเรียนทางเครือข่ายไร้สาย. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. จาก http://thaimlearning.blogspot.com/

จารุณี ซามาตย์.ระบบบริหารการเรียนการสอน LMS. [อินเทอร์เน็ต]. 2550.สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 ได้จาก http://www.edtechno.com/

ศยามน อินสะอาดและคณะ. (2550). การออกแบบผลิตและพัฒนา e-Learning. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2547). “M-Learning แนวทางใหม่ของ e-Learning”. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา.กรุงเทพฯ:สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุทธิพงษ์ พงษ์วร. (2556). “E-Learning สู่ M-Learning นวัตกรรมการเรียนการสอนแบบไร้สาย”. กรุงเทพฯ:สสวท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24

How to Cite

อนันตสมบูรณ์ ก., ไชยคำวัง ส., สมควร ก., สารภี ป., & จันทจิรโกวิท ช. (2019). การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (m-Learning) ในมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 5(1), 8–24. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/197118