อิทธิพลของพฤติกรรมการแสวงหาข่าวสารธรรมะพุทธศาสนา ต่อการลดความเครียดและการเพิ่มความสุขของคนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ประพิมพันธ์ เป็นสุขพร้อม สาขานวัตกรรมการสื่อสารการตลาด คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร- ศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10240
  • ประทุม ฤกษ์กลาง คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร- ศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10240

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล, ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์, ประเภทเนื้อหาธรรมะ, การใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะ, การลดความเครียด, การเพิ่มความสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านช่องทางของสื่อสังคมออนไลน์ ประเภทของเนื้อหาธรรมะ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะ ที่มีผลต่อการลดความเครียดและการเพิ่มความสุข โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 36-45 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 -20,000 บาท สถานภาพโสด ตำแหน่งงานอยู่ในระดับปฎิบัติการ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์แสวงหาข้อมูลธรรมะเป็นประจำทุกวัน โดยใช้งานจากที่บ้านช่วงเวลา 18.01-22.00 น. ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางโดยมีพฤติกรรมด้านประโยชน์ของข้อมูลข่าวสารธรรมะมากที่สุด ด้านช่องทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์แสวงหาข้อมูลธรรมะอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยมีการใช้ช่องทางผ่านแอปพลิเคชันไลน์ มากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีการค้นหาประเภทเนื้อหาธรรมะอยู่ในระดับปานกลางโดยมีการค้นหาข้อมูลธรรมะประเภทเนื้อหาข้อคิดเกี่ยวกับธรรมะมากที่สุด ในส่วนของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะอยู่ในระดับปานกลางโดยใช้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีการลดความเครียดอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยในเรื่องธรรมะช่วยลดความวุ่นวายใจมากที่สุดและมีการเพิ่มความสุขอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยในเรื่อง ธรรมะทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี 

References

ดริณ จักรพันธุ์ อินทร์อุดม. (2556). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยผ่านสื่อใหม่: กรณีศึกษาเว็บไซต์ธรรมะทูเดย์ดอทคอม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2547). หลักการสื่อสารตามแนวพุทธศาสนา. BU Academic Review, 3(2), 139-146.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2554). การจัดการความเครียด เติมความสุข เพื่อประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารนักบริหาร, 31(2), 95-101.

ประวัติวัดป่าบ้านตาด. (2557) สืบค้นจาก: http://www.luangta.com/resume/wat_history.php

พระมหาบุญไทย ปุญญมโน. (2555). พัฒนาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากมุขปาฐะถึงโลกไซเบอร์. แหล่งที่มา http://www.cybervanaram.net/. 14 กุมภาพันธ์ 2557.

พัชนี เชยจรรยา, เมตตา วิวัฒนานุกูล และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2541). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศาวดี วิสารทวิศิษฏ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อธรรมะกับความรู้เกี่ยวกับหลักคำสอน ความเชื่อในพระพุทธศาสนาและการกระทำความดีตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. ค้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 จาก http://popcensus.nso.go.th

อุษณีย์ ศรีสวัสดิ์. (2559). ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ระบบปฏิบัติการไลน์เพื่อการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ที่กาลังศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Atkin, C. K. (1973). Instrumental utilities and information seeking in new model of mass communication research. Beverly Hill, CA: Sage.

Marketeer. (2017). Thailand Zocial Awards 2017. Retrieved 12 August 2017 from http://marketeer.co.th/archives/119015

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper&Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21

How to Cite

เป็นสุขพร้อม ป., & ฤกษ์กลาง ป. (2019). อิทธิพลของพฤติกรรมการแสวงหาข่าวสารธรรมะพุทธศาสนา ต่อการลดความเครียดและการเพิ่มความสุขของคนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 6(1), 96–110. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/196644