ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหารสถานศึกษา, ที่ปฏิบัติจริง, ที่คาดหวังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ที่ปฏิบัติจริง ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 2) ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คาดหวัง ของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 และ 3) การเปรียบเทียบทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ปฏิบัติจริง และที่คาดหวัง ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 การวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง
คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน123 คน ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ปฏิบัติจริง และที่คาดหวัง ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า5 ระดับ (Rating Scale) ที่มีการตอบสนองคู่ (Dual-response Format) มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (xˉ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D) และการเรียงลำดับความสำคัญของที่ปฏิบัติจริง และที่คาดหวัง (Modified Priority NeedsIndex: PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.87, S.D. = 0.52) 2) ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.49, S.D. = 0.53) และ 3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ปฏิบัติจริง และที่คาดหวัง ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยภาพรวม (PNImodified = 0.159) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทักษะ เรียงลำดับความสำคัญ จากมากไปน้อย คือ ทักษะด้านการศึกษาและการสอน (PNImodified = 0.240) ทักษะด้านความรู้ความคิด (PNImodified = 0.177) ทักษะด้านเทคนิค (PNImodified= 0.166) ทักษะด้านความคิดรวบยอด (PNImodified = 0.148) และ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (PNImodified = 0.075) ตามลำดับ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). 8 นโยบายการศึกษา จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอกสารสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ธนากร ผดุงเวียง. (2551). ความต้องการการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาญเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญฤทธิ์ รุจิวงษ์สิริกุล. (2551). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไพบูลย์ สุขเจริญ. (2548). การศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพศาล ผาละนัด. (2554). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2555). การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. วารสารการศึกษาไทย.ปีที่ 3 ฉบับที่ 1: หน้า 35 – 47.
วิจารณ์ พานิช. (2556). บทบาทของผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อ ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์.ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559, ได้จาก: http://www.gotoknow.org/posts/470232
สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร
บัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม –มิถุนายน): หน้า 1 – 7.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร รัตน์น้อย. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
อรนุช นิยุตรานนท์. (2548). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สำนักงานประสานงานบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
อุดมศักดิ์ กุลครอง. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Drake, Thelbert L and William, H. Roe. (1986). Skill of an Effective Administrator,Dissertation Abstracts International. Vol.51 No.4 (May): pp.1491-A.
Katz, Robert L. (1974). Skill of an Effective Administrator, Dissertation Abstracts International. Vol.52 No.2 (September – October): pp.90-102.
Tilotson, Elizabeth Ann. (1996). An Analysis of Technical, Human and Conceptial Skills among Student Affairs Administrators in Higher Education. Disseration Abstracts Intermational. Vol.57 No.1 (July): pp.36-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.