การประเมินความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ในการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • รัตนา เกษทองมา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จังหวัด เลย 42000
  • จุฑามาส ศรีจำนงค์ ศรีจำนงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จังหวัด เลย 42000
  • จุไรรัตน์ อาจแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จังหวัด เลย 42000

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา, ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในการพัฒนาตนเองของครู 2) เปรียบเทียบความต้องการจำเป็นของครูตามประสบการณ์การอบรมสะเต็มศึกษาและประสบการณ์ทำงาน 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาตนเองของครู กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2  จำนวน 353 คน และใช้แบบสัมภาษณ์ศึกษานิเทศก์และครู 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติที่ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นภาพรวมและรายด้านทั้งสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เรียงลำดับความต้องการจำเป็น 5 ด้านคือ 1) การศึกษาสาระการเรียนรู้และกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมในลักษณะบูรณาการ 2) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน 3) การจัดการความรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 4) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
  2. ครูที่มีประสบการณ์อบรมสะเต็มศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความต้องการจำเป็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ครูต้องใฝ่เรียนรู้ และอบรมสม่ำเสมอในทั้ง 5 ด้านอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ติดตามความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เพื่อนำมาบูรณาการในรายวิชาที่สอน รวมถึงต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน และร่วมออกแบบกิจกรรมกับนักเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

จำรัส อินทลาภาพร มารุต พัฒผล และ วิชัย วงษ์ใหญ่. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสาหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(1), 62-74.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.

ปาริชาติ สันติเลขวงษ์. (2556). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิ่นลดา ฮดมาลี. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองด้านสมรรถนะสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL Problem-Based Learning, วารสารวิชาการการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, 5 (2), 11-17.

ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร ปุณณ์พิชญา รอดเปล่ง และ อาริยาพัชร์ น้อยวิไล. (2559). การฝึกอบรม: หัวใจสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.กรุงเทพมหานคร.

วารุณี คงมั่นกลาง. (2557). การสอนแบบบูรณาการคืออะไร?. กันยายน. สืบค้นจาก :https://www.gotoknow.org/posts/400257.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เลิฟ แอนด์เลิฟเพรส.

ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2539). การประยุกต์ใช้การวัดและประเมินความสามารถจริงในสภาพการเรียนการสอน. วารสารวัดผลการศึกษา, 24(51), 32-40.

สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (2552 – 2559).

สําเริง บุญเรืองรัตน์. (2540). สติปัญญากับสมองของมนุษย์.วารสารการวัดผลการศึกษา. 19(56), 36-43.

อานนท์ เอื้ออุมากุล. (2549). ผลของการใช้เกมดิจิทอลในการเรียนฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21

How to Cite

เกษทองมา ร., ศรีจำนงค์ จ. ศ., & อาจแก้ว จ. (2019). การประเมินความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ในการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 6(2), 45–62. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/196541