การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของครูผู้สอนตามแนวสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ ไกรพล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จังหวัด เลย 42000
  • จุไรรัตน์ อาจแก้ว อาจแก้ว คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จังหวัด เลย 42000
  • จุฑามาส ศรีจำนงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จังหวัด เลย 42000

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, สมรรถนะครู, สะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของครูผู้สอนตามแนวสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 และ 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างสมรรถนะของครูผู้สอนตามแนวสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 63 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง ค่าไค-สแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 

  1. องค์ประกอบสมรรถนะของครูผู้สอนตามแนวสะเต็มศึกษา มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบคือ 0.26, 0.27 และ 0.28 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์คะแนนองค์ประกอบระหว่าง 0.01 ถึง 0.26
  2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 42.15 ที่องศาแห่งความเป็นอิสระ เท่ากับ 49 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.75 ส่วนดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.98 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.97 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ในระดับดี ส่วนดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 และดัชนีค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.00 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี

References

จักรแก้ว นามเมือง. (2555). บุคลิกภาพและลักษณะการสอนที่ดี. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, (ฉบับพิเศษ), 33-36.

จำรัส อินทลาภาพร. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับครูระดับประถมศึกษา. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดอกรัก แสนผล. (2559). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บรรพต รู้เจนทร์. (2557). ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดองการบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพพรรณ เกียรติโชติชัย. (2536). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.

ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5 (ฉบับพิเศษ), 198.

วันเพ็ญ นันทะศรี. (2559). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา (สสวท.). กรุงเทพ:กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). หลักสูตรอบรมศึกษานิเทศก์. กรุงเทพมหานคร.

สุพรทิพย์ ธนภัทรชิวัต, อมรรัตน์ วัฒนาธร, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, และปกรณ์ ประจัญบาน. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ฉบับที่ 1, 33-48.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อภิณห์พร สถิตภาคีกุล และคณะ. (2555). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2548). Competency Dictionary. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Kaplan, Robert S and Norton David P. (2004). Strategy Maps. Massachusetts: Harvard Business School Publishing Corporation.

Schermelleh-Engel, K., Moosbrugger, H., and Müller, H. (2003). Evaluating the fit of structural equation models: Test of significance and descriptive goodness-if-fit measures. Methods of Psychological Research online, 8(2): 23-74.

Spencer, M and Spencer, M.S. (1993). Competence at work: Models for Superiors Performance. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21

How to Cite

ไกรพล จ., อาจแก้ว จ. อ., & ศรีจำนงค์ จ. (2019). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของครูผู้สอนตามแนวสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 6(2), 29–44. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/196535