รูปแบบจัดการภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ของจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • วารัชต์ มัธยมบุรุษ การจัดการท่องเที่ยวและโรงแรม มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

บทคัดย่อ

การศึกษา รูปแบบการจัดการภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว โดยใช้เครื่องมือทางปริมาณ ได้แก่แบบสอบถามของนักท่องเที่ยวชาวไทย และคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาด้านเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์การประชุมกลุ่มย่อยกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชนด้านการท่องเที่ยว ผลการศึกษาด้านปริมาณกับนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน พบว่า นักท่องเที่ยวเป็นเพศหญิงร้อยละ 53.0 อายุประมาณ 21 - 30 ปี ร้อยละ 36.5 มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 31.5 มาท่องเที่ยวช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และเทศกาล ร้อยละ 60 และเดินทางมาพร้อมครอบครัวร้อยละ 30.5 ผลการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ของจังหวัดพะเยา 4 ลำดับแรก ได้แก่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธรรมชาติ การเกษตร และการท่องเที่ยวชายแดน ตามลำดับ นักท่องเที่ยวมีการรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจากสื่ออินเตอร์เน็ต การรีวิวผ่านโซเชียลมีเดียในประเด็นคือการท่องเที่ยวธรรมชาติ และวัฒนธรรมรอบกว๊านพะเยา ส่งผลทำให้การท่องเที่ยวกระจุกตัวในเขตเมือง และเป็นการท่องเที่ยวตามเทศกาลเท่านั้น ผลการศึกษาจากการประชุมกลุ่มย่อย ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชนด้านการท่องเที่ยว จำนวน 20 คน ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า การกำหนดภาพลักษณ์ของพะเยาต้องสร้างการท่องเที่ยวแบบ 360 องศาเพื่อให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวได้ทั้งปี และเน้นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวพะเยาเรื่อง ความสงบ อากาศดี สุขภาพดี การพำนักระยะยาว ความหลากหลายของวัฒนธรรม โดยทำงานในลักษณะภาคีภาครัฐ เอกชน ชุมชนและสถาบันศึกษาเพื่อดำเนินการจัดการภาพลักษณ์ร่วมกัน

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

_________ . (2549). ผลการวิจัยเรื่อง โครงการศึกษาวิจัยเพื่อหาความต้องการฝึกอบรมด้านการตลาดท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

_________ . (2556). จุลสารการท่องเที่ยวฉบับที่3/2556. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.etatjournal.com/web/menu-read-web-etatjournal

กรมการท่องเที่ยว. (2556). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ปี พ.ศ. 2555 และแนวโน้ม ปี พ.ศ. 2556. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://123.242.133.66tourism/th/home/download_list.php?gid=4

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2546). รายงานประจำปี 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2548). การวางแผนการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เกษตรศาสตร์.

จังหวัดพะเยา. (2556). ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.phayao.go.th/au/c4-3.php

ชาย โพธิสิตา. (2549). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้ง.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะและชุมชนรอบ จังหวัดลำปาง. เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาปีงบประมาณ 2553.
ศุภลักษณ์ อังครางกูร. (2548). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

Cooper, Chris. , Gilvert, David. ,Fyall, Alan. , Fletcher, John and Wanhill, Stephen. (2005). Tourism: Principles and Practices. 3rded. London: Pearson Education.

Goeldner, Charles R. and Ritchie, J.R. Brent. (2012). Tourism: Principles, Practices, Philosophies. 12th ed. NewYork: John Wiley & Sons.

GHall, C.Michael and Page, Stephen J.. (2002). The geography of tourism and recreation. 2nd ed. Kentucky: Routledge.

March, Roger St Georrge and Woodside, Arch G.. (2005). Tourism Behavior: Travelers’ Decisions and Actions. Massachusetts: Pul CABI.

Ross, Glenn F.. (1998). The Psychology of Tourism. 2nd ed. Melbourne: Hospitality Press.

Swarbrooke, John and Horner, Susan. (2005). Consumer behaviour in tourism. 2nd ed. London: Butterworth-Heinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21

How to Cite

มัธยมบุรุษ ว. (2019). รูปแบบจัดการภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ของจังหวัดพะเยา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 6(2), 8–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/196532