โควิด-19: การประยุกต์ใช้แนวคิดการยอมรับและพันธะสัญญาในการเพิ่มสุขภาวะในความปกติใหม่

Main Article Content

เมธี วงศ์วีระพันธุ์
ปิยะพันธุ์ นันตา
อานนท์ สีดาเพ็ง
กัญจน์ จันทร์ศรีสุคต
อภิชาติ ไตรแสง

บทคัดย่อ

องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของ โควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก จีนเริ่มใช้แนวทาง "ปิดเมือง ปิดประเทศ" กับเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ศูนย์กลางการแพร่ระบาดแห่งแรก หลังจากนั้นประเทศอื่นๆ ก็ค่อยๆ ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว โดยมีจุดประสงค์เพื่อสกัดกั้นการแพร่กระจายของโควิด-19 มาตรการดังกล่าวได้เปลี่ยนชีวิตประจำวันของคนในสังคม "ความปกติใหม่" ทำให้คนต้องอยู่ในกิจกรรมอย่างแตกต่างจากเดิม เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การต้องอยู่บ้าน หรือทำงานจากที่บ้าน ความปกติใหม่เป็นวิถีชีวิตใหม่ที่แตกต่างจากอดีต ส่งผลต่อรูปแบบและแนวทางปฏิบัติที่คนทั่วไปคุ้นเคยและคาดหวัง ต้องเปลี่ยนไปเป็นพฤติกรรมใหม่ที่จะกลายเป็นวิถีใหม่ภายใต้มาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย พฤติกรรมใหม่ที่กลายเป็นเรื่องปกติ ทำให้เกิดการปรับตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างเพื่อปกป้องชีวิตและลดโรคระบาด สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลให้คนในสังคมวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว แนวทางการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งที่ควรนำไปปรับใช้มากขึ้น การศึกษาแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและความมุ่งมั่น(ACT) อันเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการบำบัดที่ใช้เพื่อจัดการกับความวิตกกังวลของผู้คนและปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เป็นการตอบสนองทั่วไปต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากในชีวิต ดังนั้น ACT จึงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่สามารถทำได้โดยได้รับการสนับสนุนจากนักจิตวิทยา หลักการสำคัญมีคุณค่าในการประยุกต์ใช้ได้อย่างดี และผู้คนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

บท
บทความฟื้นฟูวิชาการ

References

Anandarajah, Goeri. & Hight, Ellen. (2001) Spirituality and Medical Practice: Using the HOPE Questions as a Practical Tool for Spiritual Assessment, Am Fam Physician. Jan 1;63(1):81-89.

Banthip, K. & Nilmanat, K. (2013). Spiritual Health and Spiritual Health Assessment. Songkhla: National Health Security Office and Institute of Health Systems Management Prince of Songkla University. (in Thai).

Carson, V. B. & Green, H. (1992). Spiritual Well-Being : A Predictor of Hardiness in Patient with Acquired Immunodeficiency Syndrome. Journal of Professional Nursing, 40(8): 209-220.

Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2013). Handbook on Disaster Risk Management by Residential Community-Based: Creating a Community Disaster Prevention and Mitigation Plan. Bangkok: Ministry of Interior. (in Thai).

Harris, R. (2020) FACE COVID: How to Respond Effectively to the Corona Crisis. Retreived From https://www.asra.com/page/2915/take-care-of-yourself-during-

covid?fbclid=IwAR2UQ1PUIa_tYaSgUQMqKcrhQrxOz04mhRat6kmIDal6HlVjC56KWwy8O0c.

Hayes, S. C., Strosahl, K. D., & Wilson, K. G. (2012). Acceptance and commitment therapy: The process and practice of mindful change (2nd ed.). New York: Guilford Press.

Hayes, S. C., Levin, M. E., Plumb-Vilardaga J., Villatte, J. L., & Pistorello, J. (2013). Acceptance and commitment therapy and contextual behavioral science: examining the progress of a distinctive model of behavioral and cognitive therapy. Behavior Therapy, 44(2), 180-98. doi:10.1016/j.beth.2009.08.002.

Jungsatriegun, k. (2002). Restore Aesthetics to Health: Spirituality, Aesthetics and Humanity. Bangkok: Soun ngern Mee ma Press. (in Thai).

Kroska, Emily B., Roche, Anne I., Adamowicz, Jenna L., & Stegall, Manny S. (2020). Psychological flexibility in the context of COVID-19 adversity: Associations with distress. Journal of Contextual Behavioral Science. 18, October, 28-33.

Thongprateep, T. (2009). The Spiritual Health Dimension of Nursing. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

Vseteckova, Jitka. (2020) How can acceptance and commitment therapy help carers in challenging times such as the COVID-19 pandemic? Retreived from https://www.open.edu/openlearn/health-sports-psychology/health/how-can-acceptance-and-commitment-therapy-help-carers-challenging-times-such-the-covid-19-pandemic?fbclid=IwAR0mRz5Nevz3UHTVsrJcx5u8ta1VtEQWdO6aU7Rjvc4oYkzq_X1rA_Fj0fM.