ความเหงาในนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบความเหงาในนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์
วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเเบบกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยเเห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผล รูปแบบความเหงาที่เกิดขึ้นในนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์มี 2 รูปแบบคือ ความเหงาทางอารมณ์และความเหงาทางสังคม และพบประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่น่าสนใจ 2 ประเด็น คือ 1. การใช้สื่อสังคมออนไลน์ช่วยลดความเหงาที่เกิดขึ้นได้เพียงชั่วคราว และ 2. การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคมออนไลน์ยังไม่สามารถทดแทนการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในโลกความเป็นจริงได้
สรุป การวิจัยครั้งนี้เพียงทำให้เห็นว่าความเหงาและการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความเกี่ยวข้องกันแต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าความเหงาที่พบในผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยนี้เกิดจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือไม่ ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวต่อไป
Article Details
เรื่องที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาคลินิกแล้วถือเป็นลิขสิทธิ์การเผยแพร่โดยวารสารจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์หรือเผยแพร่ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารฯ
References
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, ขจร ฝ้ายเทศ, ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์ และวัลลภา จันทรดี. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิต
ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 16-31. สืบค้น 21 กันยายน 2562, จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/download/9954/8446
ชัญญมน ดิษกุลนรภัทร, วศิมน พรพัฒนกูล และวัชชาภรณ์ ไร่ทิม. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง ความเหงา การเพิ่มคุณค่าให้ตนเอง และพฤติกรรมการกดถูกใจในเฟซบุ๊ก (ปริญญาบัณฑิต).
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐรดา อยู่ศิริ, สุพิชฌาย์ นันทภานนท์ และหทัยพร พีระชัยรัตน์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยตนเอง ความเหงา และการทำ
หน้าที่ของครอบครัวต่อพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ต (ปริญญาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญยิ่ง คงอาชาภัทร และคณะ. (2561). การตลาดคนเหงา. (รายงานการวิจัย). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร. (2530). พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2561). ผลกระทบจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่
วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น.256-265).สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วรวีร์ ธนประกฤต. (2545). สาเหตุของความว้าเหว่ แ ล ะ ก า ร เ ผ ชิญ กับ ค ว า ม ว้า เ ห ว่ ข อ ง นักเรียนประจำวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิประภา กระจ่างทีป. (2556). สัมพันธภาพในครอบครัว ความเหงา การเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของ
นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). ETDA เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 10 ชั ่วโมง 5 นาทีต่อวัน. สืบค้น 20 กันยายน 2562, จาก https://www. etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html
อรุณรัตน์ ศรีชูศิลป์ . (2554). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ใน
มหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อโนมา ใจอุดม. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.
Anderson, L. R. & Loizos, M. M. (1999). Accessible friendships ,inclusive friendships, reciprocates friendships as relates to social and emotional loneliness in Greece and the USA. European Psychologist, 4, 165-178.
Cacioppo, J. T., Fowler, J. H., & Christakis, N.A. (2009). Alone in the crowd: The structure and spread of loneliness in a large social network. Journal of Personality and Social Psychology, 97(6),977–991.
Hunt, M. G., Marx, R., Lipson, C., & Young, J. (2018). No More FOMO: Limiting Social Media Decreases Loneliness and
Depression. Journal of Social and Clinical Psychology, 37(10), 751–768.
Miller, E., Primack, B. A., Shensa, A., Sidani, J.E., Whaite, E. O., Lin, L. Y., Rosen, D.,Colditz, J., Radovic, A. (2017). Social
Media Use and Perceived Social Isolation Among Young Adults in the U.S. American Journal of Preventive Medicine,
53(1), 1–8.
Russell, D., Peplau, L. A., & Cutrona, C. E. (1980). The revised UCLA loneliness scale: Concurrent and discriminant
validity evidence. Journal of Personality and Social Psychology, 39, 472-480.
We are social. (2018). GLOBAL DIGITAL REPORT 2018. Retrieved September 19, 2019, from https://digitalreport.weare social.com.