การถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

Main Article Content

ศุภากร หวัง
สมชาย เตียวกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกและรูปแบบการถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ


วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจากคณะต่างๆ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องการถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งผู้วิจัยสร้าง
ขึ้น ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ประวัติและลักษณะของการถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 7 ข้อ ส่วนที่ 2 รูปแบบการกลั่นแกล้งในสื่อสังคมออนไลน์ 6 รูปแบบ จำนวน 35 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติ
เชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ และการแจกแจงความถี


ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 130 คน มีผู้เคยถูกกลั่นแกล้งร้อยละ 18.5 และในจำนวนนี้ร้อยละ 91.7 ทราบว่าใครเป็นผู้กลั่นแกล้งตนเอง ทั้งนี้ Facebook เป็นช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ที่นักศึกษาถูกกลั่นแกล้งสูงสุดคือร้อยละ 70.5 รองลงมาได้แก่ Instagram ร้อยละ 45.8 สำหรับช่องทางที่ถูกกลั่นแกล้งบ่อยครั้งมากที่สุดได้แก่ Facebook คิดเป็นร้อยละ 45.8 และ Instagram ร้อยละ 41.7 ในขณะที่พบจาก Line ร้อยละ 8.3 และ Twitter ร้อยละ 4.2 นอกจากนี้รูปแบบการถูกกลั่นแกล้งที่พบมากที่สุดคือ การโจมตี ข่มขู่ หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย ร้อยละ 34.5 รองลงมาได้แก่การแบล็กเมล์ ร้อย 24.1 โดยไม่พบรูปแบบการกลั่นแกล้งแบบคุมคามทางเพศในกลุ่มตัวอย่างนี้


สรุป ความชุกของการถูกกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.5 ซึ่งจัดเป็นระดับความชุกที่สูง และน่าเป็นห่วงในผลกระทบทางด้านสุขภาพจิตใจของอนาคตวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ