การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเข้มแข็งทางจิตใจของบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉิน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

Main Article Content

ดารกา พลัง
นลินรัตน์ วรโชติภูดินันท์
วิฑูรย์ โพธ์ทิพย์
ทนง ทองภูเบศร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเข้มแข็งทางจิตใจของบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ แพทย์และพยาบาล กลุ่มผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และอาสาสมัครฉุกเฉิน จำนวน 223 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจของบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นแบบประมาณค่า 7 ระดับ มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวัดของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.812 และค่าความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบราคของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.878 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าความแปรปรวน ค่าความแปรปรวนร่วม และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบความเข้มแข็งทางจิตใจของบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความท้าทายแรงผลักดัน ความมุ่งมั่นตั้งใจ การควบคุมตนเอง และความมั่นใจ 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบความเข้มแข็งทางจิตใจของบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019  พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค - แสควร์ (χ 2 ) เท่ากับ 103.224 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 94 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.242 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 0.997 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.969 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.944 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.017

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arnetz, J. E., Goetz, C. M., Arnetz, B. B., & Arble, E. (2020). Nurse reports of stressful situations during the COVID-19 pandemic: Qualitative analysis of survey responses. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(21), 8126.

Davis, N. J. (1999). Resilience, Status of the Research and Research-Based Model. Retrieved April 22, 2022, from http://menalhealth. sahsa. gvo/shoolv iolence/5-8resilience.asp

Khoshouei, M.S. (2009). Psychometric Evaluation of the Connor-Davidson Resilience Scale (CD-RISC). Using Iranian Students, International Journal of Testing. 9(1): 60-66.

Lundman B., Strandberg G, Eisemann M., Gustafson Y. & Brulin C (2007). Psychometric properties of the Swedish version of the resilience scale. Scand J Caring Sciences. 21(2): 229-237.

Magill, E., Siegel, Z., Pike, K., & Kaiboriboon, K. (2021). Human factors in emergency medicine: A systematic review. The American Journal of Emergency Medicine, 40, 44–51.

Middleton. S. C., (2004b). Mental Toughness Test: Is the Mental Toughness Test Tough Enough? International Journal of Sport and Exercise Science.

Rui, Z., Lian, Z., Yang, Y., & Zhan, X. (2020). Analysis of workload and stress among emergency physicians in COVID-19 pandemic. Emergency Medicine Journal, 37(8), 493–496.

Shanafelt, T., Ripp, J., & Trockel, M. (2019). Understanding and addressing sources of anxiety among health care professionals during the COVID-19 pandemic. JAMA, 323(21), 2133–2134.

Soper, D. S. (2023). Structural Equation Model Sample Size Calculator. Retrieved December 25, 2023 https://www.analyticscalculators.com/calculator.aspx?id=89.

กรมสุขภาพจิต, (2551). ลักษณะของบุคคลที่มีความเข้มแข็งทางใจของกรมสุขภาพจิต. คู่มือ การสร้างสรรค์พลังใจ ให้วัยทีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด

ภัคนพิน กิตติรักษนนท์ พาสนา คุณาธิวัฒน์ ศรัณย พิชญอักษร และธิดารัตน์ ทิพโชติ. (2021). การพัฒนาและนำเทคโนโลยีสุขภาพจิตการเสริมสร้างพลังใจไปใช้ในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบทางจิตใจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online), 52(2), 33-48.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช (2550). กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 52. แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2550/สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. ครั้งที่พิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 2.

วราพร เอราวรรณ์ (2553). การพัฒนาแบบวัดภูมิต้านทานทางอารมณ์ สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต โดยใช้เทคนิคแผนผังกลุ่มเชื่อมโยง การสัมภาษ์แบบ MMI และการวิเคราะห์พหุวิธี 2 ระดับ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

วราภรณ์ เหลืองวิไล ศิรินทร์รัตน์ กาญจนกุญชร และปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์. (2021). พัฒนาการจิตอาสาตามบริบทของประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(1),336-350.

วิภา สุวรรณรัตน์ มาลี เกตแก้ว และกัณณวันฑ์ สกูลหรัง. (2022). การพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในชุมชนในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19):none. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(01).

อุษณี ลลิตผสาน, และมารยาท โยทองยศ (2555). การพัฒนามาตรวัดการฟื้นคืนได้:การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัย กรุงเทพ. การประชุมจดัโดยมหาวิทยาลยักรุงเทพ, วิทยาเขตกล้วยน้ำไท.