ผลของโปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย และทักษะการกระโดดตบจากแดนหลังในกีฬาวอลเลย์บอล

Main Article Content

เทพรัตน์ เข็มเพชร
วรพงษ์ แย้มงามเหลือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและทักษะการกระโดดตบจากแดนหลังในกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชายโรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี (16 - 18 ปี) จำนวน 18 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาการฝึก 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบก่อนและหลังการฝึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสาน 2) แบบทดสอบทักษะการกระโดดตบจากแดนหลังในกีฬาวอลเลย์บอล 3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย 3 รายการ คือ ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที พลังของกล้ามเนื้อขาในท่ากระโดดตบ Spike Height Test และ 3 Step Spike Height Test วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนการฝึกและหลังการฝึก โดยใช้ Paired samplet-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึกโดยใช้โปรแกรมแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพทางกายในด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย พลังของกล้ามเนื้อขาในท่ากระโดดตบ และทักษะการกระโดดตบจากแดนหลัง ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและทักษะการกระโดดตบจากแดนหลังในกีฬาวอลเลย์บอล มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำมาใช้ในการฝึกนักกีฬาวอลเลย์บอลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ พิเดช, อัจฉรียา กสิยะพัท, & ขจร ตรีโสภณากร. (2563). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อส่วนบนในนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 46(2). 35-45.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2561). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.

ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ: หจก. มีเดีย เพรส.

ภัสสร ธูปบุตร. (2562). ผลการฝึกแบบผสมผสานและการฝึกแบบควบคู่ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไว ของนักกีฬาวอลเลย์บอล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รณภพ ชาวปลายนา. (2561). ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

วรเชษฐ์ จันติยะ, ประทุม ม่วงมี, & เสกสรร ทองคำบรรจง. (2563). ผลของการฝึกระหว่างพลัยโอเมตริกแนวพื้นลาดเอียง แนวพื้นราบ และแบบผสมผสานที่มีต่อ ตัวแปรเชิงแอนแอโรบิก การเร่งความเร็ว และความสามารถในการกระโดด. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 46(2), 235-250.

วรพงษ์ แย้มงามเหลือ. (2547). เอกสารประกอบการสอนวิชาการป้องกันและดูแลการบาดเจ็บจากการกีฬา (อัดสำเนา). กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สยามสปอร์ต. (2559). ไทยดังทั่วโลก! FIVB ชมจัดแข่งดี-มีมิตรภาพให้ทุกชาติ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, สืบค้นจาก https://www.smmsport.com/reader/news/182488

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). การทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคสนาม กีฬาฟุตบอล-ฟุตซอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง (2014) จำกัด.

Purkhus, E., Krustrup, P., & Mohr, M. (2016). High-Intensity Training Improves Exercise Performance in Elite Women Volleyball Players During a Competitive Season. J Strength Cond Res. Retrieved November, 20, 2021. from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26950353

Sheppard, J. M., Dingley, A. A., Janssen, I., Spratford, W., Chapman, D. W., & Newton, R. U. (2011). The effect of assisted jumping on vertical jump height in high-performance volleyball players. J Sci Med Sport. Retrieved November, 22, 2021. from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20829109