ผลของการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะ การเคลื่อนไหวและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

นุชจรี ภูสีเงิน
จุฑามาศ สิงห์ชัยนรา
สมบัติ อ่อนศิริ
สมบูรณ์ อินทร์ถมยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 33 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน นักเรียน 33 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.96 2) แบบทดสอบทักษะการเคลื่อนไหวมีค่าดัชนีความสอดคล้องของรายการประเมินเท่ากับ 0.96 3) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.92 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Cronbach’s Alpha Coefficient เท่ากับ 0.711 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.53 และค่าความยากง่ายของแบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.50 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ t-test for dependent และ t-test for independent
ผลการวิจัยพบว่า


1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษามีทักษะการเคลื่อนไหวและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
2. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษามีคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานครฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กวิน เชื่อมกลาง. (2556). กิจกรรมสะเต็มหรรษา: ลูกโป่งน้ำบันจีจัมป์. สภาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(185), 26-29

จารี พรมแสง. (2560). ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษาโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

จุฑามาศ บัตรเจริญ. (2556). วิชาหลักและวิธีการสอนพลศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ซิตินทรีย์ บุญมาและคณะ. (2558). การจัดกิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กโดยใช้รูปแบบสนามเด็กเล่นโดยใช้หลักการเรียนรู้ของสมองเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก http://padatabase.net/uploads/files/01/doc/476_.pdf.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2561). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้พลศึกษาฉบับปรับปรุง 2561. กรุงเทพมหานคร. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวบรวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีการสอนและวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ พ.ศ. 2550 – 2554. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=5747&filename=develop_issue

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 . สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=5748

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก http://www.prachinburi.go.th/plan12.pdf.

Phanich, W. (2012). The Method of Leaning Construction for Students in 21st Century. Bangkok: Tathata Publication.

Pianchob, W. (2005). Compiling Article of Philosophy, Principle, Method of Teaching, and Evaluation for Physical Education Assessment. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Puttajam, P. (2015). A proposed guildelines for physical education learning management in primary school level of Bangkok Metropolitan. Journal of Education. 10(2), 382-396.