ผลของการหมุนลูกวอลเลย์บอลที่มีต่อแรงกระทำอากาศและวิถีโค้งของลูกวอลเลย์บอล

Main Article Content

ปฏิญญา ครุธทิน
สิริพร ศศิมณฑลกุล
ชนินทร์ ตรงจิตภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการหมุนลูกวอลเลย์บอลที่มีต่อแรงกระทำจากอากาศและวิถีโค้งของลูกวอลเลย์บอลที่ใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ลูกวอลเลย์บอลที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่วอลเลย์บอล Mikasa รุ่น MVA310 และ Molten รุ่น V5M4000 โดยการจำลองแบบ 3 มิติ จากนั้นจึงนำแบบจำลอง3 มิติของลูกวอลเลย์บอลที่ได้ มาวิเคราะห์หาแรงดันอากาศที่กระทำต่อลูกวอลเลย์บอล ด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์ จากการจำลองสถานการณ์กระโดดเสิร์ฟลูกวอลเลย์บอลที่ความเร็ว 71.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้ลูกวอลเลย์บอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแบบไม่หมุนและหมุนแบบ Top spin ที่ความถี่ 5 HZ และนำแรงกระทำจากอากาศที่คำนวณได้มาคำนวณหาวิถีโค้ง กำหนดให้ปล่อยลูกวอลเลย์บอลในระดับความสูง 3.28 เมตร


            ผลการศึกษาพบว่า กรณีลูกบอลไม่หมุน มีแรงต้านอากาศมาผลักลูกวอลเลย์บอลไปด้านหลังน้อยกว่ากรณีลูกวอลเลย์บอลหมุนและมีแรงยกลูกวอลเลย์บอลขึ้น ในขณะที่ลูกวอลเลย์บอลหมุนจะมีแรงกดลูกวอลเลย์บอลลง และเมื่อนำมาจำลองวิถีโค้งทำให้ทราบว่ามุมเสิร์ฟที่เหมาะสมของลูกบอลกรณีไม่หมุนเป็นมุมแคบและเคลื่อนที่ได้ระยะที่ไกลกว่า ในขณะที่ลูกวอลเลย์บอลหมุนจะต้องเสิร์ฟด้วยมุมที่มากกว่าแต่จะเคลื่อนที่ได้น้อยกว่า เมื่อต้องเสิร์ฟให้ข้ามเน็ตพอดี จากงานวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับนักกีฬาในการเสิร์ฟวอลเลย์บอล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปราโมทย์ เดชะอำไพ. (2553). พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และไฟไนต์วอลุม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Asai, T., S. Ito, K. Seo and K. Hitotsubashi. (2010). Aerodynamics of a new volleyball. Procedia Engineering 2, 2493–2498.

Dean, H.L.1, D. Martí, E. Tsui, J. Rinzel and B. Pesarancorresponding. (2011). Reaction Time Correlations during Eye–Hand Coordination: Behavior and Modeling. Journal of Neuroscience, 31(7), 2399–2412.

Goodwill, S.R., S.B. Chin and S.J. Haake. (2004). Aerodynamics of spinning and non-spinning tennis balls. Journal of Wind Engineering and Industrial Aerodynamics, 92, 935-958.

Hörzer, S., C. Fuchs, R. Gastinger, A. Sabo, L. Mehnen, J. Martinek and M. Reichel. (2010). Simulation of spinning soccer ball trajectories influenced by altitude. Procedia Engineering, 2, 2461-2466.

Jain, A., R. Bansal, A. Kumar, and K.D. Singh. (2015). A comparative study of visual and auditory reaction times on the basis of gender and physical activity levels of medical first year students. International Journal of Applied and Basic Medical Research, 5(2), 124-127.

Jalilian, P., P.K. Kreun, M.H. Makhmalbaf and W.W. Liou. (2014). Computational aerodynamics of baseball, soccer ball and volleyball. American Journal of Sports Science, 2, 115-121.

Mackenzie, S., K. Kortegaard, M. Levangie, and B. Barro. (2012). Evaluation of Two Methods of the Jump Float Serve in Volleyball. Journal of Applied Biomechanics, 28(5), 579-586.

Mehta, R.D and J.M. Pallis. (2001). Sports Ball Aerodynamics: Effects of Velocity, Spin and Surface Roughness. Materials and Science in Sports, 185-197.

Singh, R. and A.K. Singh. (2013). Comparative analysis of unforced and forced errors among winner and loser male volleyball players of national level. International Journal of Physical Education, Sports and Yogic Sciences, 2(2), 82- 85.

Valades, D., J.M. Palao. (2015). Monitoring ball speed of the volleyball spike throughout the season for elite women´s volleyball players. Journal of Sport and Human Performance, 3(2), 1-11.