การสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาปันจักสีลัตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น Scoring Rubric Construction of Pencak Silat Skills for Junior High School Students

Main Article Content

อนุรักษ์ ปักการะนัง

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาปันจักสีลัตสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20 จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20 จังหวัดชุมพร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560  ที่ผ่านการเรียนวิชากีฬาปันจักสีลัตขั้นพื้นฐาน จำนวนทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เกณฑ์        การประเมินจำนวน 8 รายการ ประกอบด้วย 1) ทักษะการร่ายรำปาซังท่าที่หนึ่ง 2) ทักษะการร่ายรำปาซังท่าที่สอง 3) ทักษะการเตะตรง 4) ทักษะการเตะตรงด้วยฝ่าเท้าหรือถีบ 5) ทักษะการเตะเฉียงด้วยหน้าแข้ง 6) ทักษะการเตะตวัดหลัง 7) ทักษะการหลบอีโกสัน และ 8) ทักษะการหลบอีละกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเชื่อถือได้


            ผลการวิจัย พบว่า เกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาปันจักสีลัตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้ง 8 รายการ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเชื่อถือได้ อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ถึงดีมาก สรุปได้ว่า เกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาปันจักสีลัตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ประเมินนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 20 จังหวัดชุมพร


คำสำคัญ : ทักษะกีฬาปันจักสีลัต เกณฑ์การประเมิน ความเที่ยงตรง ความเชื่อถือได้


Abstract


            The purpose of this study was to construct scoring rubric of pencak silat skills for junior high school students of Rajaprajanugroh 20 School, Changwat Chumpon.  The target group was 30 junior high school students taking the basic pencak silat course in the second semester of the academic year 2017 at Rajaprajanugroh 20 School, Changwat Chumpon. The instrument was the scoring rubric of pencak silat skills consisting of 8 items as follows: 1) Nusantara 1 skill, 2) Nusantara 2 skill, 3) Lurus skill, 4) Jejag skill, 5) Sabit skill, 6) Belakang skill, 7) Egosan skill, and 8) Elakan skill. Data obtained were analyzed as the content validity and reliability coefficients.


            The results indicated that the scoring rubric of pencak silat skillspossessed content validity, and the reliability coefficients were acceptable level to very good level. It can be concluded that the scoring rubric of pencak silat 8 skills possessed a satisfactory application for junior high school students of Rajaprajanugroh 20 School in Changwat Chumpon.


Keywords: Pencak silat skill, Scoring rubric, Validity, Reliability

Article Details

Section
Research Articles