ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก วิชาสุขศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา จังหวัดชลบุรี The Results of Learning Activities Using the Graphic Organizer of Health Education Subject on Learining Achievement and Analytical Thinking Skills of Mathayomsuksa 1 Students at Thedsaban Bansrimaharacha School, Chonburi.
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาสุขศึกษาโดยใช้ผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 34 คน จาก 1 ห้องเรียนซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่มด้วยการจับฉลากเลือกห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ผังกราฟิก (มีค่าความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 4.67 - 4.82) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.38-0.88 , ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.29-0.59 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89) และ 3) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัย จำนวน 4 ตัวเลือก (ค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.38-0.76 , ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.21-0.26 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ t-test Independent อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาโดยใช้ผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาสุขศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน/ ทักษะการคิดวิเคราะห์/ผังกราฟิก/วิชาสุขศึกษา
Abstract
The purpose of the Quasi-Experimental Research was to compare the learning achievement and analytical thinking skills. The research samples were 34 mathayomsuksa 1 Students at Thedsaban Bansrimaharacha School, Chonburi. Selected by using Cluster Random sampling. The research instruments were 1) Health education learning plant. Using 6 graphics plan. (Content Validity is between 4.67-4.82) 2) Learning achievement test (Difficulty between
0.38-0.88, Discrimination between 0.29-0.59, Validity is at 0.89) and Analytical thinking skill test (Difficulty between 0.38-0.76, Discrimination between 0.21-0.26, Validity is at 0.82). The data was analyzed by paired sample t-test with the Statistical Significant of .05 comparing. The data was analyzed by finding the mean (), standard deviation (S.D.) and compare the average score of learning achievement, analytical thinking skills by using the t-test at the statistical significance level of .05 The research found that:
1) The results revealed that the achievement after learning through the use the learning in health by using graphic organizers was higher than before learning with the statistical significance of .05
2) The analytical thinking skills of Mathayomsuksa 1 students was higher than before learning with the statistical significance of .05
Keyword: Learning Achievement/Critical Thinking Skill/Graphic Organizer Method/Health Education
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์