พฤติกรรมและอุปสรรคในการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Exercise Behaviors and Barriers of Undergraduate Students in Suratthani RajabhatUniversity

Main Article Content

สุชาติ สิทธิวงษ์

Abstract

บทคัดย่อ


             การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและอุปสรรคในการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำแนกตามเพศและชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มด้วยวิธีหลายขั้นตอนแบบประสม และได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างมาทั้งสิ้น จำนวน384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบเลือกตอบแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีการของลิเคอร์ทและแบบสอบถามแบบปลายเปิด ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.83-1.00 ทุกรายการ และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกออกกำลังกายในวันพุธ เวลา 16.30 -19.00 น.ออกกำลังกายกับเพื่อน จุดประสงค์หลักที่ออกกำลังกายคือเพื่อสุขภาพ สถานที่ที่นักศึกษาออกกำลังกาย คือศูนย์กีฬาภายในมหาวิทยาลัยเพราะใกล้ที่พัก ก่อนออกกำลังกายนักศึกษาได้อบอุ่นร่างกาย โดยใช้ระยะเวลา 5-10 นาที และคลายอุ่น โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อครั้งละ 6-10 นาที มีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอครั้งละ 31-50 นาที โดยใช้เวลาครั้งละไม่เกิน 20 นาที และออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความอ่อนตัวของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องเช่นกัน

  2. อุปสรรคในการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีโดยรวมมีอยู่ในระดับน้อย อย่างไรก็ตามการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า การออกกำลังกายที่มีอุปสรรคอยู่ในระดับปานกลางมี 3 ข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ มีภารกิจมากไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย ขาดความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย และขาดแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ตามลำดับ

คำสำคัญ  พฤติกรรมการออกกำลังกาย, อุปสรรคการออกกำลังกาย, นักศึกษาระดับปริญญาตรี


Abstract   


            The purposes of this research were to study the behaviors and barriers of exercise among SuratthaniRajabhat University students, whichwereclassifiedbygenderand yearofstudy. Thesamplesofthis studyconsisted of384undergraduate students who were chosen by multi-state mix random sampling and selection method. The instrument used to collect the data is questionnaire consisted of checklist, 5-points Likert-type scale, and open ended questionnaires.  In this research, the IOC index of content validity was ranged between 0.67 and 1.00 for each item, while the Cronbachs alpha coefficient was for whole 0.87. The statistics for the data analysis are frequency, percentage, mean and standard deviation. Based on the analysis of the gathered data, the two findings are as follows:


  1. SuratthaniRajabhat University students usually exercise on Wednesday, 16.30

to 19.00 pm. with their friend. The main purpose of exercising is to maintain their health. University sports center is the popular place for exercise of the students. This is because it close to their resident. Before exercise most of student were warmed up for 5-10 minutes and cool down utilizing stretching exercise for 6–10 minutes per time. Aerobic exercise was taken 31–50 minutes. Strength training was sometimes practiced 1-2 days per week,and duration of exercisewasup to 20 minutes. Flexibilityexercise was regularly practiced 3-5 days per week.


  1. The overall exercise barriers of SuratthaniRajabhat University students were rated at less level. However, the research also found that there are 3 items were rated at moderate level, such as they have no time to exercise because of many missions, lack of knowledge and understanding of exercise and lack of motivation to exercise respectively.

Keywords: Exercise Behaviors ,BarriersExercise, Undergraduate Students  

Article Details

Section
Research Articles