แนวทางการพัฒนาบริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษา The Guidelines to Develop Sports and Exercise Services in the Institute of Physical Education

Main Article Content

อภิวัฒน์ ปัญญามี

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาบริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษา


            วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งมีค่า IOC = 0.98 สัมภาษณ์ผู้บริหารของสถาบันการพลศึกษา จำนวน 19 คน นำข้อมูลที่ได้มาสรุปผลเป็นความเรียง ใช้แบบสอบถาม ชุดที่ 1 ซึ่งมีค่า IOC = 0.91 สอบถามจากบุคลากรที่ดูแลรับผิดชอบ จำนวน 35 คน และใช้แบบสอบถาม ชุดที่ 2 ซึ่งมีค่า IOC = 0.98 สอบถามจากผู้ใช้บริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษา จำนวน 400 คน นำข้อมูลที่ได้มาแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนา และนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ทำการประเมินโดยใช้มาตรฐานการประเมินของสตัฟเฟิลบีม


            ผลการวิจัย พบว่า สภาพและปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรในการจัดการของบริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษา มีดังนี้ 1) ขาดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง2) ขาดการควบคุมการใช้งบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมอุปกรณ์ 3) ขาดการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ออกกำลังกายให้พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ 4) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพยังมีน้อย 5) ขาดการติดตามผลของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 6) ไม่มีตำแหน่งบริหารที่มาดูแลรับผิดชอบโดยตรง 7) เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงาน 8) ขาดการรายงานผลการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่อง และไม่นำผลการปฏิบัติงานมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของบริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษา ส่วนความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก


            แนวทางการพัฒนาบริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษา มีดังนี้ 1) ควรมีการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในการให้บริการที่มากขึ้น 2) ควรวางแผนการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมและควบคุมงบประมาณ 3) ควรมีการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4) ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ใช้บริการมากขึ้น 5) ต้องมีการติดตามความคืบหน้าของการปฏิบัติงาน และเก็บข้อมูลการปฏิบัติงาน 6) ควรมีตำแหน่งบริหารมาดูแลโดยตรง 7) เจ้าหน้าที่ควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงาน 8) ควรนำผลการปฏิบัติงานไปใช้ในวางแผนเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน


            สรุปผลการวิจัย แนวทางการพัฒนาบริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษาซึ่งประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการกีฬา มีค่าเฉลี่ยของแนวทางการพัฒนา ทั้ง 4 มิติ มากกว่า 3.50 ในทุกด้าน ทั้งในส่วนของทรัพยากรในการจัดการ และกระบวนการจัดการ ดังนั้น แนวทางการพัฒนาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษาได้


คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนา, บริการทางการกีฬา, บริการทางการออกกำลังกาย, สถาบันการพลศึกษา


Abstract


            This research aimed to study the conditions, problems, and guidelines to develop sports and exercise services in the Institute of Physical Education.


            The research methodology, mixed methods research was implemented. An interview form with IOC = 0.98 was utilized to collect the data with 19 executive administrators of the Institute of Physical Education. The data from the interview were analyzed and written in descriptive texts. In addition to this, the first set of questionnaires with IOC = 0.91 were used to collect the data from 35 administrators who were in charge of sports and exercise services. Furthermore, the second set of questionnaires with IOC = 0.98 were used to collect data from 400 people who used sports and exercise services in the Institute of Physical Education. The data were illustrated in percentage, mean and standard deviation. The data were also used to analyze and create the guidelines to develop sports and exercise services. After that, the guidelines were evaluated by three experts using Stufflebeam evaluation model.


            The research results It was found that the conditions and problems of resource management of sports and exercise services in the Institute of Physical Education were as follows: 1) Staff were barely trained. 2) Budget spending was not carefully controlled. 3) The sports and exercise equipment was infrequently checked. 4) A few activities were run to promote users’ health. 5) The operational progress was not monitored or followed up. 6) No management position was directly in charge of sports and exercise services 7) Staff were not involved in operational planning. 8) There was no ongoing report and reports on the operational process were not used to develop or improve sports and exercise services. However, the high satisfaction of the users on sports and exercise services in the Institute of Physical Education was shown.


            The guidelines to develop sports and exercise services in the Institute of Physical Education suggested that 1) more trainings on sports and exercise as well as service practices should be conducted. 2) The plan to properly allocate the budget should be implemented in order to control the budget spending. 3) The conditions of the sports and exercise equipment should be checked frequently. 4) More activities to promote the users’ health should be organized. 5) The progress of the work should be monitored and the operational data should be collected. 6) There should be a management position to take care of the sports and exercise services directly. 7) Staff should be involved in planning operations. 8) The results from the operational reports should be used in planning to develop and improve sports and exercise services.


            In conclusion It was illustrated that the mean of the guidelines to develop sports and exercise services in the Institute of Physical Education evaluated by experts in sports management was higher than 3.50 in all aspects in terms of resource management and process management. Thus, the guidelines can be implemented to develop sports and exercise services in the Institute of Physical Education.


Keywords: Guidelines to Develop, Sports Services, Exercise Services, Institute of Physical Education

Article Details

Section
Research Articles