ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิงประยุกต์ที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ ในชุมชนบ้านศรีเวียง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย Effects of Applied FON-JERNG Exercise Dance Program on Physical Fitness of Elderly in The Sriwiang Village, Wiang Chai District, Chiang Rai Province
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมการการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิงประยุกต์ และศึกษาเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิงประยุกต์ ที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนบ้านศรีเวียง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ประชากรเป็นผู้สูงอายุในชุมชนบ้านศรีเวียงจำนวน 193 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนบ้านศรีเวียง จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างผ่านการคัดกรองลดความเสี่ยงโดยใช้แบบทดสอบ PAR-Q แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 16 คน โดยกลุ่มควบคุมทำการออกกำลังกายโดยอิสระตามกิจกรรมของชุมชน และกลุ่มทดลองทำการออกกำลังกายตามโปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิงประยุกต์ ทั้งสองกลุ่มใช้เวลาฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการออกกำลังกายแบบฟ้องเจิงประยุกต์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยได้รับการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 ท่าน หาค่าความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ (Face Validity) และใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุตามรูปแบบของ Senior Fitness Testing เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ T-Test โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิงประยุกต์
ผลการวิจัยพบว่า : 1) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม 8 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของกลุ่มผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน และ 2) หลังเข้าร่วมโปรแกรม 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 รายการ ประกอบด้วยรายการ ยกขาสูง 2 นาที ลุกจากเก้าอี้ในเวลา 30 วินาที งอข้อศอก และ ลุกจากขึ้นเก้าอี้ เดินไป 8 ฟุตและเดินกลับมานั่ง
คำสำคัญ: ฟ้อนเจิง สมรรถภาพทางกาย ผู้สูงอายุ
Abstract
This purpose of this experimental research was to study effects of Applied FON-JERNG Exercise Dance Program on Physical Fitness of Elderly in The Sriwiang Village, Wiang Chai District, Chiang Rai Province. Population were 193 elders in Sriwiang Village. 32 samples were selected by Purposive sampling and reduce risk using the PAR-Q test. Then divided into experimental group and control group 16 elder for each. The control group independently trained by community activities and the experimental group trained by applied FON-JERNG exercise dance. Both groups were trained for 3 days per week, 8 weeks. The instruments used in this study were applied FON-JERNG exercise dance program which was designed by researcher. The face validity by 4 experts was The Senior Fitness Testing data was analyzed by mean, standard deviation, and t-test.
Results were found that :1) after attending for 8 weeks, there were no difference between the mean of the physical fitness test scores of the experimental and control groups significantly different at .05 and 2) after attending for 8 weeks, the experimental group had higher physical fitness test score on posttest than pretest in 4 items of 7 items significantly at.05. Those items were a 2 minute step test, 30-second chair stand test, Arm curl and 8 foot up and go test.
Keywords: FON-JERNG, Physical Fitness, Elderly
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์