ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนราชวินิต Factors Exerting Effects on Oral Health Promotion Behaviors of Prathom Sueksa Four to Six Students at Rachawinit School

Main Article Content

ศรุตยา โสคำภา

Abstract

บทคัดย่อ


            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6โรงเรียนราชวินิต เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียน ด้วยการใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ตอบข้อมูลตามความเป็นจริง โดยอธิบายรูปแบบการตอบคำถามทีละข้อ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.01 นำมาทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากได้ร้อยละ 24.60 (R2 = 0.246)

  2. ผลการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารทันตสุขภาพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.01 นำมาทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากได้ร้อยละ 9 (R2 = 0.090)

  3. ผลการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยเสริมด้านการได้รับคำแนะนำสนับสนุน ด้าน

ทันสุขภาพจากบุคคลทางสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพช่องปากอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.01 นำมาทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากได้ร้อยละ 26 (R2 = 0.266)


คำสำคัญ : พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพช่องปาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6


Abstract


            In this thesis, the researcher studies factors exerting effects on oral health promotion behaviors of Prathom Sueksa Four to Six students at Rachawinit School. This research is a survey study. The research instrument was a questionnaire. The research focus on students to answer truthfully. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean standard deviation and analyze the factors influenced the oral health promotion behavior.


Findings are as follows:


  1. The Prathom Sueksa Six students were influenced by oral health promotion behaviors at the statistically significant level of p < .01 (probability less than .01), whereas oral health promotion behaviors can be predicted at 24.60 percent (R2 = 0.246).

  1. As far as the aspect of receiving dental health information is concerned, this aspect has influenced oral health behaviors at the statistically significant level at p < .01 (probability less than .01), whereas oral health promotion behavior can be predicted at 9 percent (R2 = .090).

  1. Reinforcing factors in the aspect of receiving recommendations regarding dental health from persons in their social ambit has influenced the oral health behaviors of these students at the statistically significant level of p < .01 (probability less than .01) and oral health promotion behaviors can be predicted at 26 percent (R2 = 0.266).

Keywords: Health Promotion Behaviors to Oral Health and Prathom Sueksa Four to Six students

Article Details

Section
Research Articles