ผลของการออกกำลังกายด้วยการรำกระบองแบบทุ่งมอกที่มีต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทอผ้าไทลื้อ The Effects of Exercise with Ramkrabong Tung-Mok Style on Health and Physical Fitness of Thai Lue Weaving

Main Article Content

ก.รวีวุฒิ ระงับเหตุ

Abstract

บทคัดย่อ


            งานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มที่มีต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกายจากการออกกำลังกายด้วยการรำกระบองแบบทุ่งมอกโดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุเพศหญิง (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ที่ประกอบอาชีพทอผ้าไทลือ บ้านทุ่งมอก จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ออกกำลังกาย และกลุ่มทดลองที่ออกกำลังกายด้วยการรำกระบอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมงครึ่ง ทำการตรวจสุขภาพด้วยเครื่องเครื่องชั่งวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย และทดสอบสมรรถภาพทางกายด้วยการทดสอบความอ่อนตัวด้านหน้า-ด้านหลัง ทดสอบมือแตะหลังซ้าย-ขวา ทดสอบแรงดึงหลัง-แรงดึงขา และทดสอบแรงบีบมือ ก่อนเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายด้วยการรำกระบองแบบทุ่งมอก และหลังจากสัปดาห์ที่ 8 ทำการวิเคราะห์สถิติด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


            ผลการตรวจสุขภาพและทดสอบสมรรถภาพหลังจากออกกำลังกายด้วยการรำกระบองพบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (29.59±5.60), มวลกล้ามเนื้อรวม (34.35±4.37), ปริมาณน้ำรวมในร่างกาย (23.07±4.04), มวลกระดูก (2.02±0.42), อัตราการเผาผลาญพลังงาน (4,394.53±647.73), ไขมันที่เกาะในช่องท้อง (6.17±2.18), ดัชนีมวลกาย (22.99±5.36), ระดับโรคอ้วน (0.95±16.25), ความอ่อนตัวด้านหลัง (12.53±8.15), ความอ่อนตัวด้านหน้า(15.11±4.68), มือแตะหลัง-ซ้าย (-9.50±8.09), มือแตะหลัง-ขวา (-5.57±8.39), แรงดึงหลัง(33.02 ±17.11), แรงดึงขา(44.25±22.13) และแรงบีบมือ (21.80±3.48) มีค่าที่เหมาะสมขึ้นทุกรายการ มีความแตกต่างภายในกลุ่มทดลอง และมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


            สรุปได้ว่าการออกกำลังกายด้วยการรำกระบองแบบทุ่งมอกทำให้มีสุขภาพและสมรรถภาพทางกายที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกในการออกกำลังกายที่ดีได้


คำสำคัญ: รำกระบอง สุขภาพ สมรรถภาพทางกาย


Abstract


            This experimental research aim was to study and compare the differences between groups on health and physical fitness, from the exercise with the RamKrabong Tung Mok style. The sample was 48 elderly females (aged 60 years and over) who worked in Tai Lue weaving at Ban Tung Mok, divided into control groups who did not exercise and the experimental group who exercised by RamKrabong for eight weeks, three days a week, 1 hour 30 minute a day. Perform a health check with a body composition analyzer and do a physical fitness test with a frontal-back flexibility test. Test hands touch the back left-right. Back and leg strength test and handgrip test before starting the exercise program with the RamKrabong Tung Mok style and after week 8. Statistical analysis with mean, standard deviation and t-test for statistically significant t values, .05 levels.


            The results of health examination and performance testing after exercising with a dance show that Body fat percentage (29.59 ± 5.60), total muscle mass (34.35 ± 4.37), total body water (23.07 ± 4.04), bone mass (2.02 ± 0.42), metabolic rate (4,394.53 ± 647.73), visceral fat (6.17 ± 2.18), body mass index (22.99 ± 5.36), obesity degree (0.95 ± 16.25), back flexibility (12.53 ± 8.15), frontal flexibility (15.11 ± 4.68), hands touch the back - left. (-9.50 ± 8.09), hands touch the back - right. (5.57 ± 8.39), back strength (33.02 ± 17.11), leg strength (44.25 ± 22.13), and handgrip strength (21.80 ± 3.48), there were more right values, all of which were different within the experimental group. And there are differences between control and experimental groups. It concluded that exercising with the RamKrabong Tung Mok Style provides the right health and fitness. It can be used as the right exercise choice.


Keywords: Ramkrabong, Health, Physical fitness

Article Details

Section
Research Articles