ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำที่มีต่อสมาธิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย Effects of Implementing Game Activity Program Applying Operant Conditioning Theory on Concentration of Upper elementary School Students

Main Article Content

พิชญา สวนช่วย

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมาธิ ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำและของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมาธิ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีสมาธิต่ำ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำจำนวน 20 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ จำนวน 8 กิจกรรม แบบประเมินสมาธิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที”


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมาธิของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมาธิหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


คำสำคัญ :    โปรแกรมกิจกรรมเกม ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ สมาธิ


Abstract        


               The purposes of this study were: 1) to compare the average score of concentration in an experimental group before and after test who had implementing game activity program applying conditioning theory with students in control group who did not have the implementing game activity program applying conditioning theory. 2) to compare the average score of concentration group after test who had implementing game activity program applying conditioning theory with students in the control group who did not have the implementing game activity program applying conditioning theory. The participant were 40 students from the upper elementary school students divided in 20 students in the experimental group who had implementing game activity program applying conditioning theory and 20 students in the control group who did not have the implementing game activity program applying conditioning theory. The research instruments were 8 activity of the implementing game activity program applying conditioning theory and concentration test.  The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test for finding different mean scores.


          The research findings were as follows: 1) the mean scores of concentration in an experimental group after test who had implementing game activity program applying conditioning theory was decrease than the experimental group students before the test at a .05 level 2) the mean scores of concentration in an experimental group after test who had implementing game activity program applying conditioning theory was decrease than the control at a .05 level.   


Keywords: Game Activity Program, Applying Operant Conditioning Theory, Concentration

Article Details

Section
Research Articles