การจัดการกีฬาแบบมีส่วนร่วมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้หลักประชารัฐ The Sport Management Model in Local Government by Civil State Concept
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการกีฬาแบบมีส่วนร่วมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้หลักประชารัฐเป็นการดำเนินการร่วมกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วยกระบวนการบริหารจัดการ POLC คือ การวางแผน (Planning) การจัดการองค์การ (Organizing) การนำองค์กร(Leading) และการควบคุม (Controlling) โดยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ใช้เทคนิคการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (A-I-C) คือ การสร้างความรู้ การสร้างแนวทางการพัฒนา การสร้างแนวทางปฏิบัติ โดยชุมชนมีส่วนร่วมกันในทุกขั้นตอนของการจัดทำรูปแบบการจัดการกีฬาแบบมีส่วนร่วมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้หลักประชารัฐ
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการกีฬาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักประชารัฐทำให้เกิดกระบวนการส่วนร่วมในทุกขั้นตอนในการจัดทำรูปแบบการจัดการกีฬา ประกอบด้วย กระบวนการบริหารจัดการกิจกรรม 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน (Planning) ได้องค์ประกอบในการวางแผนกิจกรรมไว้ 8 องค์ประกอบ คือ การกำหนดหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ กำหนดแผนปฏิบัติงาน กำหนดช่วงเวลา กำหนดวันจัดกิจกรรมให้ชัดเจน กำหนดกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินการ กำหนดแผนด้านบุคลากร กำหนดแผนงบประมาณ กำหนดแผนด้านสถานที่จัดกิจกรรมกีฬา2) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) จำนวน 4 องค์ประกอบ คือ กำหนดกิจกรรม และออกแบบและจัดกลุ่มการทำงาน กำหนดขอบเขตและหน้าที่การทำงาน กำหนดผังโครงสร้างองค์การ กำหนดการประชุม สัมมนา อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการจัดกิจกรรมกีฬา 3) ด้านการนำองค์กร (Leading) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคเอกชน กลุ่มภาคประชาชน 4) ด้านการควบคุม (Controlling)ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ชุมชนร่วมกันสะท้อนผล การประเมินโดยภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และ คู่มือการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับบริบทของแต่ละองค์กรโดยทุกองค์กรต้องมีความตระหนักถึง การทำงานแบบมีส่วนร่วม รู้จักการเป็นเจ้าของพื้นที่และการทำกิจกรรมร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างสรรค์ ร่วมกันพัฒนา และร่วมกันแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางของการบริหารจัดการกีฬาร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งตามหลักประชารัฐ
คำสำคัญ: รูปแบบ การจัดการกีฬาการมีส่วนร่วม ประชารัฐ
Abstract
This study is aimed to construct a participation sport management model for local government using civil state concept. The civil state concept needs a collaboration between public sector, private sector and people. This management process includes planning, organizing, leading and controlling; POLC. The participation research employs participation workshop technique (AIC) in order to build knowledge, development pathway, and practical pathway following civil state concept.
The results are that participation sport management model using civil state concept can help participation process throughout the sport management model. The model includes 4 management processes., e.g., 1) Planning which includes 8 components e.g., main responsible organizations, responsible person towards working and objectives, activity, working plan, human resources planning, Schedule an event, budget planning, and venue planning, 2) Organizing consists of 4 components e.g., activity, and working group design; scope and responsibility; structure; and conference, seminar and workshop on sport management, 3) Leading consists of 3 components, e.g., Public sector, Private sector, and People. and 4) Controlling consists of 3 components, e.g., community reflection, evaluation from public sector, private sector, and people and working process manual that appropriates with each organization. Each organization however need to realize its participation, area and activity belonging, initiative participatory, development participation, and problem solving and direction in order to build civil state concept strength.
Keywords: Mangement model, Sport Mnagement, Particition, Public, Civil state
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์