ประสิทธิผลของโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในสตรีกลุ่มเสี่ยง เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง Effectiveness of Program Screening for Breast Cancer Women at Risk to Promoted Self-Examination Behavioral

Main Article Content

รัชนีพร วงศ์อนุ

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ในสตรีกลุ่มเสี่ยงเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัยสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 60 คน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ Health Belief Model โดยกลุ่มทดลอง(n=30) ได้รับโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นเวลาทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยาย เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยการบอกเล่าประสบการณ์ตรงจากโมเดลต้นแบบ (อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม)  กิจกรรมชักนำสู่การปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยเรียนรู้ด้วยตนเอง จาก วิดีทัศน์ เรื่อง “หนูขิ่น สอนตรวจเต้า” ร่วมกับการใช้ปฏิทิน เพื่อเตือนตัวเองให้มีการตรวจเต้านมทุกเดือน โดยใช้หลัก “3 ท่าง่ายนิดเดียว” พร้อมกับสาธิตและฝึกทักษะปฏิบัติวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเบื้องต้น และกิจกรรมการกระตุ้นเตือนแบบสะท้อนกลับโดยใช้กระบวนการเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Line Application) ไลน์กลุ่ม “หญิงยุค 4.0 ห่างไกลมะเร็งเต้านม” ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยอื่นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยกลุ่มควบคุม(n=30) ได้รับการสอนแบบปกติคือการใช้สื่อแผ่นพับเพียงอย่างเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  แบบสอบถามที่เกี่ยวกับการรับรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ Health Belief Model และแบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบทางสถิติ Paired samples t-test และ Independent samples t-test


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และพฤติกรรมการตรวจ เต้านมด้วยตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น โปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีประสิทธิผลในการส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง   


คำสำคัญ : โปรแกรมสุขศึกษา พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง


Abstract


            This research aims to study the efficiency of breast cancer screening program in women risk group for encouraging self-check breast by using Quasi-Experimental Research. This method implements two research plans evaluating before- and -after experiments, studying sample groups: 60 women aged from 20 years old. The method employs the conceptual framework of Health Belief Model The experimental group (n=30) received a breast cancer screening program. for a total of 6 weeks. Consists of lecture activities Exchange, learn together, participate in About knowledge of breast cancer Participatory learning exchange activities Telling the experience directly from the prototype model. Self-induction activities for breast examination By learning by themselves from the video. Using a calendar to remind yourself to have a breast examination every month. using is a demonstration and skill training activity for the practice of the manual breast examination method. and using the online social networking application (Line Application). The line group "4.0 Women, far away from breast cancer" Which is different from other research. The control group (n=30) was taught normally using brochures only. The evaluation method of breast self-check designed by the researcher to analyze data by percentage, Data analyzed by using descriptive statistic Paired-sample t-test and independent sample t-test.


            The study found that the experiment group had an average score of perceived severity. Perception of risk opportunities Recognition of benefits And perceived barriers that affect breast self-examination behavior And breast self-examination behaviors were better than the control group at the statistical significance level of .05 after joining breast-cancer screening check program.


Keywords: Health Education Program, Promoted Self-Examination Behavioral     

Article Details

Section
Research Articles