การจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนด้วยเกมเพื่อความเข้าใจ Physical Education Learning Management for The 10th Grade Students by Using Teaching Games for Understanding Model

Main Article Content

เมสญา แทนสง่า

Abstract

บทคัดย่อ 


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนด้วยเกมเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi - experimental research) one group; pretest -  posttest design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4/2 โรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างแบ่งเป็นกลุ่ม (cluster random sampling) ระยะเวลาการวิจัย 1 ภาคเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้รูปแบบการสอนด้วยเกมเพื่อความเข้าใจ หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ด้วยวิธีการของ Rovinelli and Hambleton ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence: IOC) ตั้งแต่ 0.80 – 1.00 และ 2) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย ด้านสมรรถภาพทางกายพิสัย และด้านจิตพิสัย หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พิจารณาความสอดคล้องของแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษากับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ด้วยวิธีการของ Rovinelli and Hambleton ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence: IOC) ตั้งแต่ 0.80 – 1.00 โดยด้านพุทธิพิสัย มีค่าระดับความยากง่าย ตั้งแต่ 0.30 – 0.57 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.36 – 0.64 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ paired samples t-test อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาหลังการใช้รูปแบบการสอนด้วยเกมเพื่อความเข้าใจ 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาหลังการใช้รูปแบบการสอนเกมเพื่อความเข้าใจ ด้านสมรรถภาพทางกายพิสัย 3 องค์ประกอบ คือ ความอ่อนตัว และความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบของร่างกาย แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษา รูปแบบการสอนด้วยเกมเพื่อความเข้าใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา


Abstract


            The purpose of this research was to compare physical education learning management for 10th grade students by using teaching games for understanding (TGfU) model by using  quasi - experimental research; one group pretest -  posttest design. Samples were 23 female students who studying in the second semester of grade 10/2 at St. Joseph Rayong School that gathered by using cluster random sampling. The duration of this research was 1 semester. The instruments were composed of 1) physical education learning management using teaching games for understanding model find content validity by 5 experts used the index of item-objective congruence (IOC) of Rovinelli and Hambleton has the value between 0.80 - 1.00 and 2) physical education achievement assessment include in 4 domains: cognitive domain, psychomotor domain, physical fitness domain and affective domain. The content validity was judged by 5 experts by used Rovinelli and Hambleton’s method found the index of item-objective congruence (IOC) between 0.80 - 1.00. The cognitive domain had difficulty level between 0.30 - 0.57 and discrimination between 0.36 – 0.64. Data were analyzed by using mean, standard deviation, paired samples t-test by used statistical significance difference at the .05 level.


            The major results revealed that: 1) Physical education achievement assessment after used TGfU model were better than pretest in 3 domains include: 1) cognitive domain 2) psychomotor domain and 3) affective domain at the .05 level. 2) Physical education achievement assessment in physical fitness domain after used of TGfU model in 3 components; muscular strength and endurance and flexibility were better than pretest at the .05 level, body composition has significance difference at the .05 level, and cardiorespiratory endurance has no significance difference at the .05 level.


Keywords: physical education learning management, teaching games for understanding


 (TGfU) model, physical education achievement assessment

Article Details

Section
Research Articles