การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพลศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ Cooperative Learning Management in Physical Education to Enhancing Life Skills for the 6th Grade Students in Pibool Uppatham School
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพลศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิตก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi - experimental research) one group: pretest – posttest design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน เป็นนักเรียนชาย จำนวน 20 คน และนักเรียนหญิง จำนวน 16 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างแบ่งเป็นกลุ่ม (cluster random sampling) ระยะเวลาที่ใช้ ในการวิจัย 1 ภาคเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพลศึกษา และ 2) แบบวัดทักษะชีวิต เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) พิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence: IOC) ของ Rovinelli and Hambleton ได้ค่าตั้งแต่ 0.80 – 1.00 ทั้ง 2 เครื่องมือ จากนั้นหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) สำหรับแบบวัด โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Cofficient) มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนที่ได้จากแบบวัดทักษะชีวิตในแต่ละองค์ประกอบ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของทักษะชีวิต ก่อน – หลัง การใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพลศึกษา โดยใช้ paired sample t–test อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะชีวิตหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพลศึกษาดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พลศึกษา ทักษะชีวิต
Abstract
The purpose of this research was: 1) to study the effects of cooperative learning management in physical education to enhancing life skills for the 6th grade students in Pibool Uppatham School and 2) to compare life skills before and after cooperative learning management in physical education for the 6th grade students in Pibool Uppatham School. This research was the quasi - experimental research; one group: pretest – posttest design. The samples were 36 students; 20 boys and 16 girls in the 6th grade students in Pibool Uppatham School the second semester of academic year 2018 by cluster random sampling. The duration of this research was 1 semester. Research instruments were composed of 1) cooperative leraning lesson plan in physical education and 2) life skills test is a questionnaire which have content validity, determined by 5 experts with the index of item objective congruence (IOC) of Rovinelli and Hambleton had the value between 0.80 - 1.00 both tools and then find the reliability for life skills test by Cronbach’s alpha coefficient had the value of all is 0.84. The data were analyzed by percentages, means, standard deviation and compare the average score of life skills before and after using the cooperative learning management in physical education by paired sample t – test with statistical significance at the .05 level.
The research results indicated that: students had better life skills scores after used cooperative learning management in physical education with statistical significance at the .05 level.
Keywords: Cooperative learning, Physical Education, Life skill
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์