ผลการสอนว่ายน้ำด้วยการใช้โปรแกรมการฝึกการจินตภาพควบคู่กับการชมวีดีทัศน์ ที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ล The Effect of Swimming Instruction Using Imagery Training Program Watching VDO on Crawl Style Swimming Skill

Main Article Content

สาลิณี ไตลังคะ

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับทักษะในการว่ายน้ำท่าครอว์ลก่อนและหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4  6 และ 8 ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับทักษะในการว่ายน้ำท่าครอว์ลก่อนและหลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 4  6 และ 8 ภายในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษา      ปีที่ 1 จำนวน 50 คน ด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินค่าทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ล และ 2) โปรแกรมการฝึกการจินตภาพควบคู่การชมวีดีทัศน์การว่ายน้ำท่าครอว์ล  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวด้วยการวัดซ้ำ และค่า t-test  for independent ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยระดับทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ล ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนการฝึก ( =16.24; =12.88) และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ( =14.88; =28.56) สัปดาห์ที่ 6 ( =21.88; =32.88), และ สัปดาห์ที่ 8 ( =31.12; =42.28) ตามลำดับ 2) ระดับทักษะการว่ายน้ำท่า ครอว์ลระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีการพัฒนาทักษะได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมในสัปดาห์หลังฝึกที่ 4 6 และ 8  และ 3) ระดับทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ลทั้งภายในกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันระหว่างก่อนฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 4 6 และ 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ : ทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ล โปรแกรมการฝึกการจินตภาพ การชมวีดีทัศน์


Abstract   


This research aimed 1) to study the crawl style swimming skill of control (CG) and experimental (EG) groups, 2) to compare a crawl style swimming skill level before and after training at Week 4, 6, and 8 between CG and EG, and 3) to compare a crawl style swimming skill level before and after training at Week 4, 6, and 8 within CG and EG of the Mathayom Suksa-1 students. Participants were 50 Mathayom Suksa-1 students selected by a purposive sampling. Research tools were 1) the measure of crawl style swimming skill, and 2) an imagery training program with a crawl style swimming skill VDO. Data analysis consisted of Mean, and Standard Deviation, One-way repeated measure ANOVA, and t-test for independent. Results found that: 1) Mean of the crawlstyle swimming skill level of CG and EG at before training ( =16.24; =12.88), and after training Week 4 ( =14.88; =28.56), Week 6 ( =21.88; =32.88), and Week 8 ( =31.12; =42.28) 2) The overall crawl-style-swimming skill level between CG and EG had statistically significant difference, at the 0.05α-level, as well as, the experimental group had been more developed the crawlstyle swimming skill than control after training at Week 4, Week 6, and Week 8. And, 3) The crawl style swimming skill level within both control and experimental groups had statistically significant difference at the 0.05 α-level, between before and after training at Week 4, Week 6, and Week 8.


 


Keywords: The crawl style swimming skill, An imagery training program, Watching VDO


 

Article Details

Section
Research Articles