การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยตีเส้นสนามกรีฑา The Invention of Athletics Track Linner Equipment

Main Article Content

กฤษณะ ขยัน

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยตีเส้นสนามกรีฑาที่มีความเที่ยงตรง และมีความเชื่อถือได้ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) ผู้วิจัยได้ศึกษาหาคุณภาพของอุปกรณ์ ดังนี้ หาความเที่ยงตรง (validity) โดยนำอุปกรณ์ช่วยตีเส้นสนามกรีฑาไปหาความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent validity) โดยวิธีของโรวิเนลลี่และแฮมเบิลตัน (Rovinelli and Hambleton) ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พิจารณาคุณสมบัติของอุปกรณ์ช่วยตีเส้นสนามกรีฑา ในการทำสนามกรีฑา แล้วนำมาคำนวณหาค่าดัชนี          ความสอดคล้องระหว่างการทำสนามกรีฑากับจุดประสงค์ (The index of Item Objective Congruence : IOC) ของการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ และความเชื่อถือได้ (reliability) และนำอุปกรณ์ช่วยตีเส้นสนามกรีฑาที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดสอบความคงที่ของขนาดช่องวิ่ง โดยนำค่าเฉลี่ยของขนาดความกว้างของช่องวิ่งในการทำสนามกรีฑาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญกำหนด ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเที่ยงตรงตามสภาพของอุปกรณ์ช่วยตีเส้นสนามกรีฑามีค่าดัชนีความสอดคล้องการตีช่องวิ่งทางตรง การตีช่องวิ่งทางโค้ง และการตีช่องวิ่งให้ได้ขนาดช่องวิ่ง 1.25 เมตร เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ เมื่อนำไปพิจารณากับเกณฑ์ของ โรวิเนลลี่ และแฮมเบิลตัน พบว่าทุกรายการมีความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า มีค่ามากกว่า 0.5 และค่าความเชื่อถือได้ของอุปกรณ์ช่วยตีเส้นสนามกรีฑา พบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดช่องวิ่งทั้งทางตรงและทางโค้ง มีค่าเท่ากับ 1.25 เมตร และค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0 เมื่อนำไปพิจารณากับเกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญกำหนดอยู่ในระดับดีมาก สามารถนำไปใช้งานได้จริงที่ โดยสามารถสร้างรอยของช่องวิ่งบนสนามดิน หรือสนามทราย ได้ครั้งละ 2 ช่องวิ่ง สามารถตีเส้นสนามกรีฑาได้ทั้งทางตรงและทางโค้งที่ได้มาตรฐานสากล


คำสำคัญ : อุปกรณ์ช่วยตีเส้นสนามกรีฑา ความเที่ยงตรงตามสภาพ ความเชื่อถือได้


Abstract


            The purpose of this research was to invent the athletics track linner equipment with a validity and reliability. This research had adopted a qualitative design to collect, analyze and report the data. The validity of method was based on the concurrent validity of Rovinelli and Hambleton method. The quality of athletics track linner equipment was considered by five specialists. The equipment was adjusted and tested including the stability of size of race track, then percentage of athletics track linner was compared to standard value by specialists. The result was found that 1) The concurrent validity of athletics track linner equipment; the consistent index of straight route, curve route, and sizing of 1.25 m route were 1.00 all items, 2)The consideration with Rovinelli and Hambleton standard found that concurrent validity of all items was 0.5, and 3) The reliability of athletics track linner equipment; average size of race tracks straight route, and curve route, were 1.25 m. which was suitable and could be practical applied following specialists standard.


Keywords: Athletics Track Linner Equipment, Concurrent Validity, Reliability

Article Details

Section
Research Articles

References

พัฒพงศ์ พงษ์สกุล. (2541). การสร้างเครื่องตั้งลูกตบ ลูกมือล่างและลูกสองมือบนในกีฬาวอลเลย์บอล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชัย ทองประยูร. (2543). การประดิษฐ์เครื่องส่งลูกวอลเลย์บอล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมพร ฉ่ำเอี่ยม. (2538). การสร้างเครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.