รูปแบบรายการกีฬาทางโทรทัศน์ที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการเล่นกีฬาของเยาวชนชายในกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Sport Television Program Models Related to the Attitude Towards Sport Participations Among Male Youths in Bangkok Metropolitan

Main Article Content

ศรายุทธ จุณณวัตต์

Abstract

บทคัดย่อ


            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบรายการกีฬาทางโทรทัศน์ที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการเล่นกีฬาของเยาวชนชายในกรุงเทพมหานคร โดยรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยผสมวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ผลิตหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับรายการกีฬาทางโทรทัศน์ จำนวน 15 ท่าน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการเก็บแบบสอบถามคือ เยาวชนชายในกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน สุ่มแบบโควตา โดยเก็บเขตละ 70 คน จาก 6 เขตเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือเชิงคุณภาพและปริมาณโดยผู้เชี่ยวชาญและคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยวิธีวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟ่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถอดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์แยกองค์ประกอบ พบว่า รูปแบบรายการกีฬาทางโทรทัศน์ด้านรายการถ่ายทอดสด รายการกีฬาทางโทรทัศน์ประเภทให้ความรู้ รายการกีฬาทางโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้และรายการกีฬาทางโทรทัศน์ประเภทผสมรูปแบบใหม่มีผลกับเจตคติการเล่นกีฬาของเยาวชนชายในกรุงเทพมหานคร


คำสำคัญ : รูปแบบรายการกีฬาทางโทรทัศน์ เจตคติ การเล่นกีฬา เยาวชนชาย กรุงเทพมหานคร


Abstract   


            The objective of this research was to study the form of sport TV programs that had relation to attitudes towards playing sports of male youths in Bangkok areas. This study was Mixed Methods Research between qualitative research by in-depth interview and quantitative research by questionnaires. The main 15 key informants in qualitative research were the stakeholders, the producers, and those who got involved with sport TV programs. All of them were purposive sampling for the study. Meanwhile, the sampling obtained from questionnaire collection were 420 youths living in the areas of Bangkok through quota sampling. 70 samples were collected from 6 areas. Research tools were structural in-depth interview and questionnaires for examining the confidence of qualitative and qualitative tools that were conducted by the experts. After that, they were taken to be calculated reliability of the questionnaires by the methods for analyzing the values of Alpha-Coefficient. At the meantime, data analysis was conducted by content analysis and descriptive statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation, Multiple Regression Analysis, and Factor Analysis. According to research findings, it was revealed that the form of broadcasting sport TV programs as, sport programs on television that gave knowledge, variety sport TV programs, and sport TV program with the new form mixed had significant impact on the attitudes towards playing sports of male youths in the areas of Bangkok Metropolitan.


Keywords: Sport Television Program, Attitude, Sport Participation, Thai Male Youths, Bangkok


                     Metropolitan

Article Details

Section
Research Articles

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2558). จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ทั่วประเทศจำแนกตามฐานความผิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2558. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560, สืบค้นจาก http://www.djop.go.th/stat/statbetween2008-2011.
กรมประสัมพันธ์. (2560). จังหวัดชุมพรจัดอบรมโครงการฝึกอบรมเยาวชนอาสารักษาดินแดนต้านภัยยาเสพติด. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2560, สืบค้นจากhttp://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNSOC6005310010121/2/34870.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2560). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560, สืบค้นจาก http://www.satcloud.sat.or.th/SAT/index.php/s/sCn7Vdke874a5L6.
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2559). พฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์และการรับรู้ตราสินค้าสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลของกลุ่มผู้ชมวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560, สืบค้นจาก https://www.isranews.org/thaireform-news-mass-comm/44387-tv-digital_443872.html.
ชโลธร เสียงใสและสุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกายของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 16(3), 63-75.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559, สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/115/1.PDF.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2559). จำนวนประชากรแยกรายอายุ กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559, สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php.
สีทน ธรรมวงศ์. (2558). เจตคติต่อการออกกำลังกายและพฤติกรรมเปิดรับสื่อด้านกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 จังหวัดขอนแก่น กรมประชาสัมพันธ์. (2558). ปัญหาของเด็กและเยาวชนไทยในยุคปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560, สืบค้นจาก
http://region1.prd.go.th/ewt_news.php?nid=17954.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2527). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: อักษรพานิชย์. สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2560). กิจกรรมของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2560. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 25จ, สืบค้นจาก http://www.bltbangkok.com/POLL.
วิไลพิน ทองประเสริฐ, นฤพนธ์ วงค์จตุรภัทรและฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2556). อิทธิพลของรูปแบบการฝึกสอนกีฬา การตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางการกีฬาและแรงจูงใจภายในที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จทางการกีฬา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 13(2), 101-114.
เฉลิมพล สุทธจรรยา. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทางการกีฬา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Best J.W. 1977. Research in education. 3rd ed. Engle Clift. NJ: Prentice-Hall.
Loudon D.L. and A.J. Della Bitta. 1993. Consumer Behavior: Concept and Application. 4th ed. New York: McGraw-Hill.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd edition. New York: Harper and Row Publication.
Kolesnik, W.B. 1970. Education Psychology. New York: McGraw-Hill.