การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการฝึกมวยไทย
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์อภิมาน, ปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการฝึกมวยไทย, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของโปรแกรม การฝึกมวยไทย 2) ศึกษาขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อโปรแกรมการฝึกมวยไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการฝึกมวยไทย แหล่งข้อมูลในการวิจัย คือ งานวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกมวยไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2553–2566 จำนวน 21 เรื่อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) โดยการประเมินคุณภาพงานวิจัย กึ่งทดลอง ตามแนวทางของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (The Joanna Briggs Institute) และแบบประเมินคุณลักษณะงานวิจัยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ด้วยวิธีการ Content validity index (CVI) มีค่าเฉลี่ยทั้งฉบับอยู่ที่ 4.52
ซึ่งอยู่ในระดับดี ในการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาและคำนวณขนาดอิทธิพลของงานวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์อภิมานด้วยวิธีของ Hedges (1981: 107-128) ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อโปรแกรมการฝึกมวยไทยเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มากที่สุดที่ร้อยละ 66 รองลงมา คือ ดุษฎีนิพนธ์ระดับปริญญาเอกร้อยละ 44 ส่วนของสาขาที่ผลิตงานวิจัยพบว่าสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬามีจำนวนมากที่สุดร้อยละ 57 รองลงมาคือสาขาพลศึกษาที่ร้อยละ 24 และสาขาอื่น ๆ ร้อยละ 14 ผลของการเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล ทั้งหมด 6 ตัวแปร ที่ส่งผลกับตัวแปรตามขนาดอิทธิพลงานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกมวยไทย โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) พบว่ามี 4 ตัวแปร พบว่ามี 4 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 ได้แก่ ตัวแปรรูปแบบกิจกรรมการฝึก ตัวแปรจำนวนยกต่อจำนวนครั้งที่ซ้อม ตัวแปรระยะเวลาในการพัก และตัวแปรขนาดกลุ่มตัวอย่างในการฝึก ขนาดอิทธิพลจากตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์ทำให้เกิดความรู้และข้อมูลที่สามารถประยุกต์และบูรณาการกับหลักการฝึกกีฬา เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกมวยไทยต่อไป
References
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). ประวัติศาสตร์มวยไทย. กรุงเทพฯ: บีทีเอสเพรส.
กิจจา ถนอมสิงหะ และจินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการออกกำลังกายโดยใช้ศิลปะมวยไทย เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมปลาย. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 1-17.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). การวางแผนโปรแกรมการฝึกซ้อมในกีฬา. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.
ประยูรศรี บุตรแสนคม. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียน: การประยุกต์ใช้ ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างอภิมาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รังสฤษฏิ์ บุญชลอ. (2560). มวยไทย รวมกฎ กติกา และพื้นฐานการเล่น. ปทุมธานี: สกายบุ๊ค.
ราชัน เฉลียวศิลป์. (2558). มวยไทย. สุพรรณบุรี: สถาบันพลศึกษาวิทยาเขตสุพรรณบุรี.
วันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะเจาะจงที่มีต่อความสามารถในการเตะตัดของมวยไทย การวิเคราะห์ทางสรีรวิทยาและชีวกลศาสตร์ ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนันต์ อัตชู. (2538). หลักการกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
อัจฉรา คำมะทิตย์ และมัลลิกา มากรัตน์. (2559). การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: วิธีการปฏิบัติทีละขั้นตอน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 246-248.
อริย์ธัช หนูแก้ว. (2561). ผลของโปรแกรมการฝึกมวยไทยแบบวงจรที่มีต่อความสามารถทางอากาศนิยมของนักมวยไทยอาชีพ วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไอยย์ศรัย พีรภาพรกุล. (2555). ผลของการเรียนการสอนฟุตบอลโดยใช้โปรแกรมการฝึกแรงต้านที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขา ของนักกีฬาฟุตบอลระดับอุดมศึกษา วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Becker, A. L. (2000). Effect Size. Retrieved, from https://web.uccs.edu/lbecker/Psy590/es.htm
Goto, K. Ishii, N. and Takamatsu, K. (2004). Growth hormone response to training regimens with combined high and low-intensity resistance exercises. European Journal of Applied Physiology, 92(2), 231-242.
Hair, J. F. Black, W. C. Babin, B. J. Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6thed.). Pearson Prentice Hall.
Hedges, L. V. (1981). Distribution theory for Glass’s estimator of effect size and related estimators, Journal of educational statistics, 6(2), 107-128.
Jones, M. J. Brown, A. and Davis, R. (2010). Lactic Acid Clearance during Different Recovery Durations in Combat Sports. International Journal of Physiology, 15(2), 112-118.
Johnson, R. (2015). The Impact of Circuit Training on Muscular Strength in Combat Sports. Sports Medicine Journal, 20(3), 45-60.
Miller, R. Stewart, D. and Greene, T. (2008). Experimental Psychology: Methods and Applications. New York: McGraw-Hill.
National Association for Sport and Physical Education. (2011). Physical Education for Lifelong Fitness: The Physical Best Guide (3rd ed.). Illinois: Human Kinetics.
Smith, J. and Jones, A. (2015). Effect of High-Intensity Training on Muay Thai Athlete’s Performance. Journal of Sports Science, 23(2), 156-162.
Smith, A. Johnson, M. and Kauffman, D. (2010). The effect of set and repetition variations on muscle strength and hypertrophy in resistance training. Journal of Strength and Conditioning Research, 24(3), 715-722.
Smith, A. and Jones, B. (2010). Physical Training in the Elderly: Effects and Benefits. New York City: Springer.
Smith, A. and Jones, B. (2017). The effects of alternating heavy and light training on boxers. Journal of Sports Science and Conditioning, 12(3), 45-59.
Smith, J., Johnson, P., Lee, K. and Davis, M. (2005). Recovery Duration and its Effect on Muay Thai Performance. Journal of Sports Science, 23(3), 45-50.
The Joanna Briggs Institute. (2011). Joanna Briggs Institute reviewers’ manual: 2011 edition. Retrieved July 6, 2022, from http://www.Joanna Briggs.edu.au/Documents/sumari/ Reviewers%20Manual-2011.pdf
Turner, A. N. (2009). Strength and conditioning for Muay Thai athletes. Strength and Conditioning Journal, 31(6), 78-92.
Wong, P. (2017). Accelerated Training Techniques in Enhancing Endurance and Speed of Muay Thai Athletes. Journal of Physical Education and Sport, 17(3), 102-110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว