Journal Information
About the Journal
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (Journal of Roi Et Rajabhat University) เป็นวารสารระดับชาติที่ออกปีละ 3 ฉบับ วารสารจัดตั้งขึ้น โดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เริ่มดำเนินการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และเมื่อปี พ.ศ. 2563 วารสารฯ ได้รับการพิจารณารับรองให้มีผลการประเมินคุณภาพวารสารจัดอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) TCI กลุ่มที่ 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 และต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2567
Focus and Scope (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)
เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความทั่วไป บทวิจารณ์หนังสือ ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคม เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ ของนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีขอบเขตเนื้อหาในสาขาภาษาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป การตลาด นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ส่งเสริมการเกษตร สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม สารสนเทศศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมสหวิทยาการ ด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
Peer Review Process (กระบวนการ Review)
บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความอย่างน้อย 3 ท่าน (Peer-review) นับจากวันที่ 27 พ.ค. 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบว่าผู้เขียนเป็นใคร และผู้เขียนไม่ทราบว่าผู้ทรงคุณวุฒิเป็นใคร (Double-Blinded)
Types of articles (ประเภทของบทความ)
บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์
Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)
ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
Publication Frequency (กำหนดออก)
วารสารตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี
- ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน
- ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม
- ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม
Sources of Support (หน่วยงานสนับสนุน)
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
จากการที่วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นสื่อกลางหนึ่งในการติดต่อสื่อสารผลงานวิจัยตลอดจน ข้อค้นพบใหม่ๆ ระหว่างนักวิจัย และสังคมภายนอก ดังนั้น เพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จึงได้กำหนดแนวทางวิธีแนวทางวิธีปฏิบัติที่ดี และจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) โดยมีรายละเอียดดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของกองบรรณาธิการวารสาร (Duties of editors)
กองบรรณาธิการ (Editor) คือ บุคลทั้งภายในและภายนอกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดแต่งตั้งขึ้น โดยการเสนอของบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อดำเนินงานวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
1. กองบรรณาธิการกำหนดแผนการจัดทำวารสาร วิธีการ แนวปฏิบัติในการรับ บทความและจัดทำวารสาร ตลอดจนควบคุมดูแล กำกับดูแล พิจารณากลั่นกรอง คัดเลือกบทความที่มีความเหมาะสมตีพิมพ์ในการตีพิมพ์
2. กองบรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ในการพิจารณารูปแบบ ความครบถ้วนสมบูรณ์และคุณภาพของบทความ ก่อนเริ่มกระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่รับผิดชอบ
3. กองบรรณาธิการสรรหา คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามารถตรงกับสาขาของบทความ นั้นๆเพื่อประเมินคุณภาพของบทความ จากนั้นสรุปคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งให้ผู้เขียนเพื่อปรับแก้ไข และตรวจสอบความถูกต้องของบทความหลังจากปรับแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ ความถูกต้องอีกครั้งก่อนตีพิมพ์และเผยแพร่ตามช่องทางต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามการประเมินคุณภาพ วารสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (ศูนย์ TCI)
4. กองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ ในระหว่างช่วงเวลาการประเมินบทความและการตีพิมพ์วารสารฉบับนั้นๆ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความ
5. กองบรรณาธิการจะเป็นผู้ประเมินเบื้องต้นในการตัดสินใจคัดเลือกบทความเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์ และพิจารณาตีพิมพ์บทความที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ จากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
6. กองบรรณาธิการจะไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่จากที่อื่นมาแล้วทั้งในรูปแบบของวารสาร หรือ บทความหลังการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการฉบับเต็ม (proceeding)
7. กองบรรณาธิการจะไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจนกว่าจะมีหลักฐานพิสูจน์ข้อสงสัยเหล่านั้น
8. กองบรรณาธิการจะไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินและทีมผู้บริหาร
9. กองบรรณาธิการจะตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (plagiarism) ในบทความโดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือได้ และหากมีหลักฐานหรือข้อยืนยันที่ชัดเจนว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น บรรณาธิการจะติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจงและหากไม่มีข้อชี้แจงตามหลักทางวิชาการ บรรณาธิการจะปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of reviewers)
ผู้ทรงคุณวุฒิ(Peer Review) คือ บุคลทั้งภายในและภายนอกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดแต่งตั้งขึ้นโดยการเสนอของกองบรรณาธิการ วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
1. ผู้ประเมินบทความจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ของบทความและผู้นิพนธ์ แต่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาของการประเมิน (confidentiality)
2. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้นิพนธ์ร่วมๆหรืออื่นๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระได้
3. ผู้ประเมินบทความจะประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากเนื้อหาของบทความ และประเมินบทความโดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหา โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
4. ผู้ประเมินสามารถเสนอแนะผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย
5. หากผู้ประเมินพบว่าบทความมีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่นโดยมีหลักฐานชัดแจ้ง ผู้ประเมินสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์และแจ้งแก่บรรณาธิการ
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of authors)
ผู้เขียนบทความ (authors) คือ เจ้าของบทความที่ส่งบทความนั้นๆ เข้ามาตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
1. การส่งบทความผู้นิพนธ์ต้องเป็นผู้รับรองผลงานว่าเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยนำเสนอในรูปแบบ proceeding และตีพิมพ์จากที่ใดมาก่อน
2. บทความที่ส่งตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะต้องนำเสนอรายงานข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดจากการทำวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
3. หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของผู้นิพนธ์ จะต้องอ้างอิงผลงานของผู้นั้นและปรากฏอยู่ในรายการอ้างอิงท้ายบทความ
4. บทความที่ส่งตีพิมพ์จะต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด ในคำแนะนำของการส่งนิพนธ์ต้นฉบับของวารสาร มิฉะนั้นทางบรรณาธิการจะไม่รับพิจารณาบทความนั้นๆ
5. บทความที่มีชื่อผู้นิพนธ์ปรากฏอยู่ จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง โดยกองบรรณาธิการจะพิจารณาความเป็นไปได้จากบทความ
6. บทความจะต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ ในกิตติกรรมประกาศ
7. ผู้นิพนธ์จะต้องมีการระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)
จริยธรรมการวิจัยในคนหรือสัตว์ (ถ้ามี)
หากผลงานมีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้เขียนต้องแสดงให้เห็นถึงการได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนและสัตว์ในบทความให้ชัดเจน