https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/issue/feed วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2024-12-29T17:56:16+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขอบฟ้า จันทร์เจริญ j.khobfa@gmail.com Open Journal Systems <p> วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (Journal of Roi Et Rajabhat University) เป็นวารสารระดับชาติที่ออกปีละ 3 ฉบับ วารสารจัดตั้งขึ้น โดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เริ่มดำเนินการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และเมื่อปี พ.ศ. 2563 วารสารฯ ประเมินคุณภาพวารสารครั้งที่ 2 ได้รับการพิจารณารับรองให้มีผลการประเมินคุณภาพวารสารจัดอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) TCI กลุ่มที่ 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 และต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568-2572<br /> วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มุ่งหวังว่าวารสารฉบับนี้จะเป็นแหล่งข้อมูลทางการวิจัย และทางวิชาการระดับชาติ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป</p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขต</strong></p> <p> เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ประเภท บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทัศน์ ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคม เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป</p> <p> โดยมีขอบเขตเนื้อหาในสาขาภาษาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป การตลาด นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ส่งเสริมการเกษตร สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม สารสนเทศศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมสหวิทยาการ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่</strong></p> <p> วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จัดทำโดย บัณฑิตวิทยาลัย เปิดรับบทความจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย บทความที่เสนอขอรับการพิจารณาอาจเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ในรูปแบบ Online ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน<br /> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม<br /> ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์ และวิธีพิจารณาบทความ</strong></p> <p><strong> </strong>วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด รับตีพิมพ์ผลงาน 4 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทัศน์</p> <p> โดยบทความจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอื่น บทความทุกบทความจะต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน (นับจากวันที่ 27 พ.ค. 2565 เป็นต้นไป) โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบว่าผู้เขียนเป็นใคร และผู้เขียนไม่ทราบว่าผู้ทรงคุณวุฒิเป็นใคร (Double-blinded Review) </p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>การเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</strong><strong> </strong></p> <p> วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ฉบับภาษาไทย บทความละ 4,000 บาท ฉบับภาษาอังกฤษ บทความละ 5,000 บาท โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ก็ต่อเมื่อบทความได้ผ่านการพิจารณาของบรรณาธิการฯ และกองบรรณาธิการวารสารฯ พร้อมทั้งได้แก้ไขเนื้อหา และรูปแบบของบทความตามคำแนะนำเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบทความพร้อมเข้าสู่กระบวนการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ต่อไป เริ่มใช้อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2565 เป็นต้นไป ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ จำนวน 3 ท่าน) </p> <p> </p> <p><strong>เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (วารสารจัดทำในรูปแบบออนไลน์)<br /></strong> ISSN 2985-2129 (Online)<br /> ISSN 2985-2110 (Print)</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/281950 From Thai Words to English Verses: An Analysis of Translation Strategies and Rhymes in Three Man Down’s Songs 2024-11-30T15:47:30+07:00 Teekawin Disa teekawinds@gmail.com <p>As music is part of our lives and spreads its reach around the world, the translation of song lyrics plays a significant role in transferring key messages of artists to audiences speaking different languages. Simultaneously, translators are able to include linguistic features in translated lyrics for enhancement purposes. This research thus analyzed strategies applied to the Thai-English translation and rhymes used in the English translations of Thai songs of “Three Man Down” — a Thai musical band whose songs are well-known in several countries for their heart-breaking songs. According to the theory of Vinay and Darbelnet (2000), translation strategies found in the selected songs were mostly oblique ones (modulation, transposition, adaptation, and equivalence). The analysis of position-based rhymes using Pinsky’s (1998) theory, on the other hand, suggested the significantly frequent use of end rhymes in the songs. The scrutiny further revealed that adherence to the structure of the source language (herein Thai) was not necessary in translation of Three Man Down’s songs, as evidenced by multiple adjustments to the lyrics and occurrences of rhymes more frequently found in obliquely-translated lyrics than literally-translated ones.</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/275625 การพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2024-05-21T11:48:12+07:00 วงศ์พัทธ์ ชูรา wongphat.cg63@ubru.ac.th ภควัฒน์ วงศ์วรรณวัฒนา Pakawat.w@ubru.ac.th ปริญา ปริพุฒ Pariya.p@ubru.ac.th <p><strong> </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาทักษะการทดลองวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเกษมสีมาวิทยาคาร จำนวน 30 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ 12 แผนกิจกรรมโดยการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน 3) แบบประเมินทักษะการทดลอง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ</p> <p> ผลวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.4 /79.15 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2) นักเรียนมีทักษะการทดลองเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 69.36 และมีคะแนนสูงขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยรวม อยู่ในระดับมาก</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/279327 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2024-08-21T15:14:48+07:00 ราตรี พิมพ์ศักดิ์ ratreepimsak@gmail.com พรเทพ เสถียรนพเก้า Pornthep@snru.ac.th ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ nonsamran2011@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์<br />ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี โดยใช้กระบวนการวิจัยเอกสาร การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ การวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดทิศทางองค์กร 2) การคิดเชิงกลยุทธ์ 3) การกำหนดกลยุทธ์ 4) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 5) การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ โดยทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/278216 การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการฝึกมวยไทย 2024-08-31T14:36:14+07:00 ณพงษ์ ร่มแก้ว Napong.rk@gmail.com คันธทรัพย์ ชมพูพาทย์ triluk3@hotmail.com เทิดศักดิ์ สุพันดี terdsakspd@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของโปรแกรม การฝึกมวยไทย 2) ศึกษาขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อโปรแกรมการฝึกมวยไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการฝึกมวยไทย แหล่งข้อมูลในการวิจัย คือ งานวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกมวยไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2553–2566 จำนวน 21 เรื่อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) โดยการประเมินคุณภาพงานวิจัย กึ่งทดลอง ตามแนวทางของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (The Joanna Briggs Institute) และแบบประเมินคุณลักษณะงานวิจัยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ด้วยวิธีการ Content validity index (CVI) มีค่าเฉลี่ยทั้งฉบับอยู่ที่ 4.52 <br />ซึ่งอยู่ในระดับดี ในการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาและคำนวณขนาดอิทธิพลของงานวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์อภิมานด้วยวิธีของ Hedges (1981: 107-128) ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อโปรแกรมการฝึกมวยไทยเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มากที่สุดที่ร้อยละ 66 รองลงมา คือ ดุษฎีนิพนธ์ระดับปริญญาเอกร้อยละ 44 ส่วนของสาขาที่ผลิตงานวิจัยพบว่าสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬามีจำนวนมากที่สุดร้อยละ 57 รองลงมาคือสาขาพลศึกษาที่ร้อยละ 24 และสาขาอื่น ๆ ร้อยละ 14 ผลของการเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล ทั้งหมด 6 ตัวแปร ที่ส่งผลกับตัวแปรตามขนาดอิทธิพลงานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝึกมวยไทย โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) พบว่ามี 4 ตัวแปร พบว่ามี 4 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 ได้แก่ ตัวแปรรูปแบบกิจกรรมการฝึก ตัวแปรจำนวนยกต่อจำนวนครั้งที่ซ้อม ตัวแปรระยะเวลาในการพัก และตัวแปรขนาดกลุ่มตัวอย่างในการฝึก ขนาดอิทธิพลจากตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์ทำให้เกิดความรู้และข้อมูลที่สามารถประยุกต์และบูรณาการกับหลักการฝึกกีฬา เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกมวยไทยต่อไป</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/279609 หลักสูตรฝึกอบรมบุคลิกภาพของพนักงานบริการร้านสะดวกซื้อ ABC ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2024-09-02T17:30:55+07:00 นันทิดา ชมภูประเภท nanthida05031999@gmail.com ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร Thanasitpoe@pim.ac.th นิธิภัทร กมลสุข Nitipatkam@pim.ac.th มนัสศิริ นุตยกุล manassirinut@pim.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมบุคลิกภาพของพนักงานบริการ ร้านสะดวกซื้อ ABC ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 22 คน ใช้เกณฑ์คัดเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน 3 ปี จำนวน 12 คน และผู้ที่เข้ารับบริการร้านสะดวกซื้อเฉลี่ย 5 วันต่อสัปดาห์ จำนวน 10 คน วิธีดำเนินการวิจัย โดยใช้ ADDIE Model ซึ่งได้นำกระบวนการพัฒนามาประกอบการสร้างหลักสูตร 2 กระบวนการ คือ การวิเคราะห์ และการออกแบบ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสร้างหลักสูตร และการพัฒนาบุคลิกภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การประเมินหลักสูตรใช้วิธีการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับองค์ประกอบของหลักสูตร และมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ จำนวน 3 คน</p> <p> ผลวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมบุคลิกภาพของพนักงานบริการร้านสะดวกซื้อ ABC ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้น มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ 1) การเสริมสร้างบุคลิกภาพสู่ความสำเร็จสำหรับงานบริการ 2) ทัศนคติที่ดี ของพนักงานบริการในการเสริมบุคลิกภาพที่ดี 3) เทคนิคการแต่งหน้า และการแต่งกาย 4) เทคนิคการฟัง การพูด เพื่อโน้มน้าวใจ และปิดการขาย 7 ชั่วโมง วิธีการฝึกอบรมการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ การปฏิบัติตามตัวอย่างกรณีศึกษา การวัดผลการฝึกอบรม จากแบบทดสอบก่อน-หลัง ฝึกอบรม และแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนหลังฝึกอบรม หลังจากผ่านการฝึกอบรม 1 เดือน</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/282416 ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 2024-10-31T17:10:39+07:00 เพียงฟ้า สายทอง rossalinja@gmail.com ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน edu_graduate@nsru.ac.th ศุภชัย ทวี edu_graduate@nsru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับ<br />การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 297 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน<br />โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการทำงานเป็นทีมโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.405 p &lt; .01)</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/280202 หลักสูตรพัฒนาทักษะการบริการสำหรับพนักงานร้านกาแฟสดและเบเกอรี่เฮ้าส์ บริษัท XYZ 2024-09-24T15:41:50+07:00 วรุณรัตน์ เลียบศิริ varunratlie@cpall.co.th ชุติเนตร บัวเผื่อน Chutinatebua@pim.ac.th นิธิภัทร กมลสุข Nitipatkam@pim.ac.th มนัสศิริ นุตยกุล Manassirinut@pim.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรพัฒนาทักษะการบริการสำหรับพนักงานร้านกาแฟสดและเบเกอรี่เฮ้าส์บริษัท XYZ โดยเก็บข้อมูลจาก นโยบายองค์กร ข้อร้องเรียนเรื่องบริการและการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้บริหารสายปฏิบัติการระดับบังคับบัญชา จำนวน 15 คน แยกตามอายุการทำงาน ผลงานอยู่ในเกณท์ดีและผลคะแนนตรวจร้านในส่วนหัวข้อบริการอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 90</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรพัฒนาทักษะการบริการสำหรับพนักงานร้านกาแฟสดและเบเกอรี่เฮ้าส์บริษัท XYZ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความสำคัญของการบริการและการเตรียมความพร้อมในการบริการ 2) การเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับพนักงานบริการ 3) ความรู้เรื่องสินค้าการเสนอขายสินค้าและมาตรฐานการส่งมอบสินค้า 4) ความรู้เกี่ยวกับความต้องการและการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และ 5) การแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้าและแนวทางรับมือปัญหาข้อร้องเรียนมีรูปแบบการอบรมแบบห้องเรียน จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 7 ชั่วโมง แบ่งเป็นภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติด้วยกรณีศึกษาแสดงบทบาทสมมติ โดยจะมีการประเมินผลจากการฝึกอบรม ดังนี้ 1) ประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรมจากแบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม และ 3) ประเมินพฤติกรรมจากหัวหน้างาน หลังจากผ่านการฝึกอบรม 1 เดือน</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/278682 ปัจจัยในการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายขายเครื่องสำอาง เขตบางกะปิ 2024-09-06T09:45:31+07:00 ภนิดา โพธิ์เกษม panida2537.pp@gmail.com ธารกมล ฐานะชาลา tankamon.tan@gmail.com อัศวิน เสนีชัย atsavin555@hotmail.com ชุติมา เกตุษา Panida2537.pp@gmail.com พัทธ์ธีรา จิรอุดมสาโรจน์ Phatteera.n@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายขายและการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการปฏิบัติของพนักงานฝ่ายขายเครื่องสำอางในเขตบางกะปิ โดยมีประชากรเป็นพนักงานฝ่ายขายของบริษัทเอกชนในเขตบางกะปิ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติ ไคสแควร์ 𝑥<sup>2</sup> ในการทดสอบสมมติฐาน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ของพนักงานฝ่ายขายเครื่องสำอางในบริษัทเอกชนในเขตบางกะปิเป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 25-30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 20,000-25,000 บาท มีสถานภาพโสด และมีระยะเวลา<br />ในการปฏิบัติงานอยู่ในช่วง 2-4 ปี ในส่วนของสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายขายเครื่องสำอางในบริษัทเอกชน<br />ในเขตบางกะปิทั้งหมดอยู่ในระดับมาก โดยรายด้านที่ตรวจสอบ ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ, ด้านแรงจูงใจในการทำงาน/เจตคติ ด้านความรู้, ด้านทักษะ, และด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง ในส่วนของปัจจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานพบว่า<br />มีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์, ด้านความสุขในการทำงาน และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานและผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายขายเครื่องสำอาง พบว่าพนักงานที่มีปัจจัยเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นพนักงานที่มีปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานจะมีสัดส่วนของผู้ที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติต่ำมากกว่าด้านอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่า ปัจจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายขายเครื่องสำอางในเขตบางกะปิ</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/270651 การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2023-09-30T17:57:37+07:00 พิมพิกา ศรีเกื้อกลิ่น rinra30@gmail.com วิชิต กำมันตะคุณ wichit.rerut@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ การอ่านเชิงวิเคราะห์ของครูผู้สอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) สร้างรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพของครูผู้สอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เชิงวิเคราะห์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3)ศึกษาผลการใช้รูปแบบ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูผู้สอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น โดยใช้การวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 4 ระยะคือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพ ที่พึงประสงค์ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้บริหาร สถานศึกษา จำนวน 10 คน และครู จำนวน 12 คน และครูผู้สอนภาษาไทยซึ่งให้ข้อมูล สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 110 คน 2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 คน และ 4) ประเมินรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เชิงวิเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ และผลการประเมินรูปแบบโดยรวม มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า คุณภาพของแผนการจัด การเรียนรู้ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีผลการประเมินมากที่สุด ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบโดยรวมมากที่สุด ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยรวมมากที่สุด และ 4) รูปแบบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ในระดับมากที่สุด</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/277541 ผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน 2024-08-31T11:55:40+07:00 นภาลัย ศรีวิชัย n.kadthiya@g.lpru.ac.th ณฤติยา เพ็งศรี narittiya@g.lpru.ac.th บุษราคัม อินทสุก busaka.buss@gmail.com <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้ชุมชน เป็นฐานต่อความสามารถในการนำเสนอผลงานของนักศึกษา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ จำนวน 57 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัย ใช้แบบแผนการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวใช้การติดตามผลการสอนของตัวแปร (The Follow-Through Planned Variation Study) ตามแนวคิดของ Best and Kahn (2006: 184) ทดสอบหลังเรียน เทียบกับเกณฑ์ผ่านเชิงปริมาณของการนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนร้อยละ 70 ร่วมกับเกณฑ์คุณภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนในระดับดีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความสามารถในการพูดนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการนำเสนอคลิปวิดีทัศน์เรื่องเล่าผลิตภัณฑ์ชุมชนท่ามะโอ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานช่วยให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างใช้กระบวนการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมกับชุมชนในการนำเสนอเรื่องเล่าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพการนำเสนอในระดับดีขึ้นไปโดยผลคะแนนการนำเสนอผลงานมีค่าเฉลี่ย 17.82 และผลประเมินความพึงพอใจต่อการนำเสนอคลิปวีดิทัศน์ มีค่าเฉลี่ย 3.73 อยู่ในระดับมาก</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/275343 คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านสระบัว ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 2024-09-12T14:30:10+07:00 จิระภิญญา ประจุดทะเนย์ chiraphinyaprachutthane@gmail.com ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร s6253410018@sau.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านสระบัว ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น และ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในชุมชนบ้านสระบัว ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านสระบัว ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จำนวนทั้งสิ้น 118 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสัมภาษณ์</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านสระบัว ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ด้านจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านกายภาพ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัญหาและอุปสรรคผู้สูงอายุในชุมชนบ้านสระบัว เกิดจากโรคเรื้อรังและข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และผู้สูงอายุมักรู้สึกโดดเดี่ยวเนื่องจากลูกหลานย้ายออกจากชุมชน ส่งผลต่อสุขภาพจิต รวมถึงบ้านเรือนที่ทรุดโทรมและการขาดทรัพยากรพื้นฐาน จึงทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/279570 ระบบแจ้งเหตุและตรวจสอบประวัติผู้ขับขี่ยานพาหนะตำบลเกาะแก้ว 2024-07-05T12:30:12+07:00 ปัณณธร แสงอรุณ 63424201004@reru.ac.th ประหยัด สุพะกำ web101fiber@gmail.com วาทินี ดวงอ่อนนาม Wathinee.d@reru.ac.th กล้า ภูมิพยัคฆ์ ict2099@reru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการพัฒนาระบบแจ้งเหตุและตรวจสอบประวัติผู้ขับขี่ยานพาหนะตำบลเกาะแก้ว 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบแจ้งเหตุและตรวจสอบประวัติผู้ขับขี่ยานพาหนะตำบลเกาะแก้ว กลุ่มตัวอย่าง 30 คนคือนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์จำนวน 20 คนและประชาชนในตำบลเกาะแก้วจำนวน 10 คน เครื่องมือ<br />ที่ใช้ในการพัฒนาระบบคือ Bootstrap framework และ MySQL สำหรับจัดการฐานข้อมูล และแบบสอบถามประเมิน<br />ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ ผลการศึกษาพบว่าระบบสามารถจัดการข้อมูลค้นหาข้อมูลสถิติและการแจ้งเหตุอุบัติเหตุ ประวัติการขับขี่ยานพาหนะได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบอยู่ในระดับมากที่สุดคือมีคะแนนเฉลี่ยน 4.85 จาก 5 คะแนน ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/281726 รูปแบบการจ้างแรงงานผู้สูงวัยของภาคเอกชนเพื่อรองรับเมืองอัจฉริยะ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย 2024-10-16T09:45:36+07:00 ชนาใจ หมื่นไธสง chanajaime@gmail.com ธิดารัตน์ สาระพล thidarat@reru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการแรงงานผู้สูงวัยของภาคเอกชนในการทำงาน ศึกษาปัญหา และอุปสรรคการจ้างแรงงานผู้สูงวัยในภาคเอกชน และศึกษารูปแบบการจ้างแรงงานผู้สูงวัยของภาคเอกชนเพื่อรองรับเมืองอัจฉริยะ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 43 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ความต้องการแรงงานผู้สูงวัยภาคเอกชนพิจารณาลักษณะงานและศักยภาพของแรงงาน 2) ปัญหาและอุปสรรคการจ้างแรงงานผู้สูงวัยภาคเอกชน พบว่า กฎหมายยังไม่ครอบคลุมแรงงานผู้สูงวัยในแง่ของการจัดสวัสดิการ และ 3) รูปแบบการจ้างแรงงานผู้สูงวัยของภาคเอกชนเพื่อรองรับเมืองอัจฉริยะ มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 3.1) ควรมีนโยบาย แผนงาน ประกาศที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงวัย 3.2) ไม่ควรขยายอายุเกษียณ ให้พิจารณาจากลักษณะงานประกอบกับความพร้อมของผู้สูงวัยในด้านสภาพร่างกาย แต่หากคำนึงถึงในอนาคตที่แรงงานขาดแคลนไม่สามารถหาคนมาทำงานได้ การขยายต้องมีมาตรการที่ชัดเจน และควรขยาย ตั้งแต่ 65-70 ปี 3.3) ความรู้ความสามารถ ทักษะที่ผู้สูงวัย ควรได้รับการพัฒนา คือ ทักษะดิจิทัล การใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.4) ภาครัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสนับสนุนการจ้างแรงงานผู้สูงวัยในลักษณะของนโยบาย หรือผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อการจ้างแรงงานผู้สูงวัย</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/282372 การดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 2024-10-31T16:55:46+07:00 พัชรากร กรอบทอง rossalinja@gmail.com สรรชัย ชูชีพ sunchai.c@lawasri.tru.ac.th ภัสยกร เลาสวัสดิกุล sayakorn@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบการดำเนินการโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข จำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 จำนวน 306 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนิน การโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) เพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นต่อการดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขไม่แตกต่างกัน ส่วนข้าราชการครู มีความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสถานศึกษาขนาดใหญ่ขึ้นไปมีการดำเนินโครงการสูงกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก และขนาดกลางมีการดำเนินโครงการสูงกว่าขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/279571 การลิดรอนสิทธิมนุษยชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กรณีการลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 2024-08-15T11:53:53+07:00 สุทธิพันธ์ มะลิทอง suttipunmlitong10967@gmail.com วัลลภ พิริยวรรธนะ S64563825022@ssru.ac.th <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวินัยทหาร การปกครองตามแบบธรรมเนียมทหาร การกระทำความผิดวินัยทหาร และกระบวนการลงโทษทางด้านวินัยทหารตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 อีกทั้งบทลงโทษจากการกระทำความผิดทางวินัย กัก ขัง หรือจำขัง มีความลิดรอนสิทธิมนุษยชนของทหารในด้านชีวิตและร่างกายซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และยังพบว่าในบทบัญญัตินี้ยังมิได้มีการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาการลงโทษต่อการกระทำความผิดไว้อย่างชัดเจน เมื่อมีการกระทำความผิดวินัยเกิดขึ้น จะใช้วิธีการเทียบเคียงการกระทำความผิดจากคำสั่งหรือแบบธรรมเนียมทหารอื่น ๆ ในการพิจารณา จากการศึกษาพบว่าการที่ผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งและดำเนินการลงโทษทหารผู้ใต้บังคับบัญชานั้นอาจพบปัญหาที่มีความไม่สอดคล้องกับการกระทำความผิดทางวินัยทหาร นอกจากมีการลงทัณฑ์ทางวินัยแล้ว ทหารก็ยังมีบทลงโทษจากการดำเนินการปกครองอย่างอื่นร่วมด้วย อันมีลักษณะเป็นการลงโทษที่มีความซ้ำซ้อนสำหรับการกระทำความผิดเพียงครั้งเดียวอีกทั้งคำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหารทุกคำสั่งไม่ว่าจะเป็นการกัก ขัง หรือ จำขัง ล้วนแต่เป็นการดำเนินการทางวินัยทหารที่ไม่สามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ จึงเห็นควรให้มีการ ปรับปรุง แก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีความเหมาะสม สอดคล้อง กับยุคสมัยปัจจุบันที่มีความซับซ้อนกว่าในอดีต</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/280970 ทุนทางสังคมในฐานะกระบวนการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนไทย 2024-09-26T10:06:54+07:00 ไพสุรางค์ ทั่งทอง ttownnthangthong@gmail.com สุดารัตน์ ขุนโต looksun_pl@hotmail.com จตุรภัทร พานิช zeeoohdgg@gmail.com นภธิอร อุดมพงศ์ nopthion.u@psru.ac.th จิรภัทร จุมปาแฝด 123mos.ji@gmail.com ธนัสถา โรจนตระกูล tanastha.r@psru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของทุนทางสังคมที่มีต่อวิสาหกิจชุมชน โดยเน้นไปที่การเสริมสร้าง<br />ความเข้มแข็งและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และศึกษากระบวนการใช้ทุนทางสังคมในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์เอกสารที่รวบรวมงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทุนทางสังคม โดยเฉพาะแนวคิดจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง กับการสร้างเครือข่ายทางสังคมและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ทุนทางสังคมมีบทบาทต่อวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างมาก โดยทุนทางสังคมที่พบมีหลายด้าน ได้แก่ ทุนทางกายภาพ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนมนุษย์ ทุนความสัมพันธ์และทุนเครือข่าย ซึ่งทุนทางสังคมแต่ละด้านมีบทบาท<br />ต่อการประกอบ สร้างพัฒนาและต่อยอดวิสาหกิจชุมชนให้ประสบความสำเร็จและสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ จากการศึกษากระบวนการใช้ทุนทางสังคมในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน พบว่า ปัจจัยที่สำคัญต่อกระบวนการใช้ทุน ทางสังคมในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน คือ ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นทุนทางสังคมของท้องถิ่น เป็นรากเหง้า<br />ของชุมชน โดยการใช้ทุนทางสังคมเพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2) การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และ 3) การนำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ แต่อย่างไรก็ตาม การนำทุนทางสังคมไปใช้อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น การใช้ทุนทางสังคมในการหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างอิทธิพลของกลุ่มคนที่มีทุนทางสังคมมากกว่ากลุ่มอื่น</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด