การพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • วงศ์พัทธ์ ชูรา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ภควัฒน์ วงศ์วรรณวัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปริญา ปริพุฒ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน, ทักษะการทดลอง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาทักษะการทดลองวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเกษมสีมาวิทยาคาร จำนวน 30 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ 12 แผนกิจกรรมโดยการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 2) แบบทดสอบ                          วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน 3) แบบประเมินทักษะการทดลอง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ

              ผลวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.4 /79.15 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2) นักเรียนมีทักษะการทดลองเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 69.36  และมีคะแนนสูงขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยรวม อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤษณะ ประฉิมมะ. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนเรื่องปริมาณทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จงกลณี ภัทรกังวาน. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการวางแผน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, จิตตยา สมบูรณ์มากทรัพย์, สาธิตา สิริโรจนงาม, ชิสาพัชร์ ชูทอง, วีรนุช คฤหานนท์, สมศักดิ์ ก๋าทอง และ ศรีไพร กุณา. (2565). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทชุมชนเป็นฐานสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 12(2), 1-18.

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ, พรทิพย์ อ้นเกษม, สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล, ประภาพร ชนะจีนะศักดิ์, และ ธิดารัตน์ อธิปัญจพงษ์. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนรู้นวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลสาวชะโงก สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและประสบการณ์อภิปัญญาบูรณาการ กับการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(2), 18-29.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ศรีวิโรจน์. (2561). เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567, จาก http://edu.pbru.ac.th/e-media/08.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2567). คู่มือแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อน “อาชีวนวัตวิถีสู่การเรียนรู้”. จังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555–2559). สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566, จาก http://www1.nrct.go.th/index.php?mod=contents &req=view&id=1402

สิริวรรณ สุวรรณอาภา. (2543). เอกสารการสอนชุดวิชาระบบการเรียนการสอน Learningteaching system (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Scott, P. (1970). The Process of Conceptual Change in Science. New York: Cornell University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

How to Cite

ชูรา ว., ภควัฒน์ วงศ์วรรณวัฒนา, & ปริญา ปริพุฒ. (2024). การพัฒนาทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 18(3), 17–27. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/275625