กลยุทธ์การปรับตัวที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การปรับตัว, ความสำเร็จของธุรกิจ, รับเหมาก่อสร้างบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การปรับตัวกับความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ 2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบกลยุทธ์การปรับตัวกับความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ 3) เพื่อทดสอบผลกระทบของกลยุทธ์การปรับตัวที่มีต่อความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และ 4) เพื่อทดสอบผลกระทบองค์ประกอบของกลยุทธ์การปรับตัวที่มีต่อความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ โดยศึกษาจาก ผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 354 ราย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การปรับตัวกับความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง พบว่า กลยุทธ์การปรับตัวมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความสำเร็จของธุรกิจ และกลยุทธ์การปรับตัวด้านการเงินมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของธุรกิจมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการบุคลากร ด้านการวางแผน ด้านการตลาด และด้านการจัดการเทคโนโลยี การวิเคราะห์ผลกระทบของกลยุทธ์การปรับตัวที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง พบว่า กลยุทธ์ การปรับตัวส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับความสำเร็จของธุรกิจและกลยุทธ์การปรับตัวด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านการจัดการบุคลากร และด้านการวางแผนส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับความสำเร็จของธุรกิจ ด้านการจัดการเทคโนโลยีไม่ส่งผลกระทบกับความสำเร็จของธุรกิจ กลยุทธ์การปรับตัวจึงเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจควรให้ความสำคัญในการเลือกใช้ กลยุทธ์อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/biztype/overview
เจณิภา คงอิ่ม, อมรา รัตตากร และชยุตม์ วะนา (2563). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดเพื่อรองรับการตลาด 4.0 ขนมไทย จังหวัดนนทบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), 15–29.
ชาญศักดิ์ เกิดสุข. (2565). ได้ศึกษา กลยุทธ์การจัดการธุรกิจสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มในเขต. วารสารศูนย์พัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(7), 179–187.
ณัฐภัทร เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2562). ปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้รับเหมาในระดับโครงการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้าง. สมุทรปราการ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ธนะพัฒน์ วิริต. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้สภานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิดข19. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 128-142.
นัฎฐนันท์ ภู่สวาสดิ์. (2563). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(2), 1-19.
นัทธมน อิ่มสมบัติ. (2561). การจัดการเครือข่ายของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
พนาวัลย์ ชูศรีพัฒน์ (2564). กลยุทธ์ทางการตลาดแบบออนไลน์สู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัล. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พียาภัทร พึ่งคล้าย. (2562). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พัชราภา สิงห์ธนสาร. (2562). การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจส่งออกอาหารกระป๋องและอาหารแห้งในประเทศไทยตามทฤษฎีฐานทรัพยากร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 27(4), 33–52.
ภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวต่อผลกระทบจากโควิด–19 ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2563. สาระศาสตร์, 4(2), 451-464.
ยงยุทธ์ ศรีสวัสดิ์ และชลกนก โฆษิตคณิน (2563). การบริหารจัดการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 8(6), 242–253.
ลัดดา ปินตา. (2566). กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในเขตภาคเหนือ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19). วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(1), 92-113.
วลัยลักษณ์ พันธุรี, อรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร และระวีวรรณ วจีสุวรรณ. (2565). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจก่อสร้างของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 173-186.
ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์. (2565). ตัวชี้วัดความสําเร็จของการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของพนักงานในสํานักงานยุคปกติใหม่. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(1), 257-272.
ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2565). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรมปี 2565-2567: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/construction-materials/construction-contractors/io/construction-contractor-22
สมบูรณ์ สุริยวงศ์, บุญมี พันธุ์ไทย, เตือนใจ เกตุษา, สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สายชล ศิริพงษ์. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของเจ้าหน้าที่ทีมกำกับดูแลสำนักงานสรรพากรพื้นที่ในสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 9. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
อัตพร ปุยอ๊อก. (2565). กลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจที่พักแรมที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในภาวะวิกฤตโควิด–19 ระหว่าง พ.ศ. 2563–2564 กรณีศึกษา ธุรกิจที่พักแรมที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการพอแล้วดี. สาระศาสตร์, 5(1), 177–190.
David, A., Aaker, V. K. and George, S. D. (2001). Aaker on Branding: 20 Principles that Drive Success. New York: Morgan JaKumames Publishing.
Nunnally, J. C. and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw- Hill.
Nunnally, J. C. (1967). Psychometric Theory. New York: Mc-Graw-Hill Book Company.
Nuthdanai Wangpratham. 2020. Multicollinearity. Retrieved January 26, 2023, From https://nutdnuy.medium.com/
Penarroya - Farell and Miralles, M. F. (2022). Business Model Adaptation to the COVID-19 Crisis: Strategic Response of the Spanish Cultural and Creative Firms. Open Innov. Technol. Mark. Complex.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว