ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู ในสถานศึกษา สังกัดมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วันทนี ปรือทอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • ภูวนัย สุวรรณธารา มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • นิวัตต์ น้อยมณี มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้, ผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา และ 2) ศึกษาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 183 คน ได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .80–1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของตัวแปรภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ เท่ากับ .86 และตัวแปรการบริหารแบบมีส่วนร่วม เท่ากับ .85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

  ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจการพยากรณ์ .863 แสดงว่าภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพยากรณ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาได้ ร้อยละ 86.30 และภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา มีจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์  (X3) การสร้างสรรค์ชุมชน (X4) และการฟัง (X2) ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้

  สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ  Y = .706 + . 550 (X3) + .246 (X4) + .219 (X2)  

              สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน  Z = .642 (X3) + .264 (X4) + .228 (X2)  

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: แม็ทช์พอยท์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

เกรียงไกร ยิ่งยง และเสาวนี สิริสุขศิลป์. (2559). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนคาทอลิก

สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(1), 143-155.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนบดี ศรีโคตร. (2562). สภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียวาท น้อยคล้าย. (2559). การศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยา.

วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 35-43.

พลกฤษณ์ บัวประเสริฐ และพรศักดิ์ สุจริตรักษ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารกับประสิทธิผล

ของสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 281-295.

เพ็ญพิศ ผาพองยุน. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุดรธานี: วิทยาลัยสันตพล.

มารุต ศักดิ์แสงวิจิตร และทิวัตถ์ มณีโชติ. (2564). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่น

ในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 49(1), 1-18.

รุจิรา เข็มทิพย์. (2561). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผล

ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สกลนคร, 15(70), 111-121.

โรงเรียนแอ๊ดเวนตีสเอกมัย. (2564). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์

แอ๊ดเวนตีส.

สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์. (2564). ภาวะผู้นำและจริยธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ : แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2).

ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

องอาจ จูมสีมา. (2562). ภาวะผู้นำและการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อคุณภาพครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 495-500.

Cohen, J. M. and Uphoff, N. T. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin.

Daft, R. L. (1999). Leadership Theory and Practice, Forth Worth. Texas: The Dryden Press.

Dennis, R and Winston, BE. (2003). A factor analysis of Page and Wong’s servant leadership instrument. Leadership. Organizational Development Journal, 24(1), 455–459.

Lambert, W. E. (2004). Servant leadership qualities of principals, organizational climates and student achievement:

A correlational study. Florida USA: Nova Southeastern University.

Greenleaf, R. K. (1977). The servant leadership: A journey into the nature of legitimate Power and greatness.

New York: Paulist Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30