ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • พรเทพ พรมตา มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • กัญภร เอี่ยมพญา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • นิวัตต์ น้อยมณี มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา จำนวน 297 คน ซึ่งได้มาจากการเปิดตารางสำเร็จรูปแครซี่และมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของการบริหารงานวิชาการ เท่ากับ .85 และของประสิทธิผลของสถานศึกษา เท่ากับ .86 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

              ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ในทางบวก อยู่ในระดับสูง (rxy = .90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

References

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27.

วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชนิกา บรรจงปรุ และสุรินทร์ ภูสิงห์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 7(25),

-301.

นีลบล อุณาศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับประสิทธิผลการทำงานของพนักงานครูโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา

จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏราชนครินทร์.

ประยูร คุณนาม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา

ในอำเภอบ่อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วานิช บุญครอบ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เลย: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏเลย.

วิชษารัตน์ ธรรมะรัตน์จินดา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สงวนพงศ์ ชวนชม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 20(2), 59–68.

เสกสันต์ รอดย้อย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. (2564). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564. ฉะเชิงเทรา:

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2560 (ปรับปรุง

พ.ศ. 2562). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ

กระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: อีเลฟเว่น สตาร์

อินเตอร์เทรด.

โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์. (2563). การบริหารวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

Aziz, S., Mahmood, M. and Rehman, Z. (2018). Implementation of CIPP Model for Quality Evaluation at School

Level: A Case Stud. Journal of Education and Educational Development, 5(1), 189-206.

Hoy, W. K. and Miskel, C. G. (2008). Educational administration: Theory, research and practice (6th ed.).

New York: McGraw–Hill.

Michael, O. O., Anpe, M. S. and Gambo, M. B. (2015). Principals’ Administrative Skills for Secondary Schools

in Plateau State, Nigeria. Asia Pacific Journal of Education, 1(2), 90-96.

Tebogo, J. M. (2020). The Instructional Leadership Role of the School Principal on Learners' Academic Achievement.

African Educational Research Journal, 8(2), 183-193.

Roger, G., Yvonne, G., Eun, S. K. and Robert, M. (2015). Principals’ Administrative Skills for Secondary Schools

in Plateau State, Nigeria. American Journal of Education, 121(4), 501–530.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30