แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อัธยา เมิดไธสง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยเริ่มจากวิธีการเชิงปริมาณตามด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 64 คน กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และอาจารย์นิเทศก์ ทั้งสิ้น 30 คน ซึ่งเลือกมาอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67–1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 เชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์แบบพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) แนวทาง

ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมมีข้อเสนอแนะ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตร ควรมุ่งส่งเสริมกิจกรรมวิชาการ ทักษะการทำงานและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ควรบูรณาการการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดในชุมชน 3) ด้านการวัดประเมินผล ควรเน้นการมีส่วนร่วมและใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ 4) ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษา ควรสร้างเครือข่ายสถาบันผลิตครูเพื่อวางแผนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมแก่นักศึกษา

References

กิติต์ภพ ทวีวัฒน์. (26 มกราคม 2566). สัมภาษณ์. ครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนวัดสระทอง.

กัลยา สร้อยสิงห์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี.

วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 486–501.

คณะครุศาสตร์. (2565). นโยบาย และแผนพัฒนาคณะครุศาสตร์ ปีการศึกษา 2565-2567. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2566,

จาก https://edu.reru.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/18-05-65.pdf

ณิชาภา เจริญรูป และณัฐพงษ์ จรทะผา. (2560). แนวทางการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสู่ความเป็นพลเมือง

ในศตวรรษที่ 21. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธนกฤตา แจ่มด้วง. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรตามนโยบาย

ประเทศไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนาดล พิสิฐปัญญาพงศ์. (19 มกราคม 2566). สัมภาษณ์. ครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนวัดบูรพาภิราม.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ตันติกร ขุนาพรม. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ของรัฐภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พาที เกศธนากร. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(1), 97-107.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: เลขาธิการ

สภาการศึกษา.

มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยี

และสื่อสารการศึกษา, 1(1), 6-12.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับพลิเคชั่น.

วิภาวี ศิริลักษณ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร,

(4), 155-165.

สุเมธ สระเย็น. (19 มกราคม 2566). สัมภาษณ์. ครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนหนองกุงศรี.

ไสว ฟักขาว. (2561). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

อุดมพร ปรีชา. (19 มกราคม 2566). สัมภาษณ์. ครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา.

Battelle for Kids. (2019). Partnership for 21stCentury Learning A Network of Battelle for Kids: Framework

for 21st Century Learning Definitions. Retrieved November 20, 2021, from https://static.battelleforkid

.org/documents/p21/P21_Framework_DefinitionsBFK.pdf

Creswell, J. W. (2015). A concise introduction to mixed methods research. California: Sage Publications.

Greenstein, L. (2012). Assessing 21st Century Skills: A guide to evaluating mastery and authentic learning.

California: CORWIN A SAGE Company.

Keinänen, M., Ursin, J. and Nissinen, K. (2018). How to measure students’ innovation competences in higher

education: Evaluation of an assessment tool in authentic learning environments. Studies in

Educational Evaluation, 58(1), 30-36.

Martin, J. (2010). The Meaning of the 21st Century. Bangkok: L.T.P.

Ohio Department of Education. (2017). Partnership for 21st Century Skills: Framework for 21st Century learning.

Retrieved October 8, 2022, from https://www/marietta.edu/site/defaut/files/document/

st_century_skill_standards_book_2.pdf

Rodriguez, V. (2013). The potential of systems thinking in teacher reform as theorized for the teaching

brain framework. Mind, Brain and Education, 7(2), 77-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30