การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • มุกดาวัลย์ จิตรติภิญโญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พรชัย ผาดไธสง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น, เกมวิทยาศาสตร์, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75

เพื่อปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านกระจาย ตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว
จังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 14 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t –test ผลการวิจัย พบว่า

            1) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีประสิทธิภาพ 79.56/82.73 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ช่อผกา สุขุมทอง. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ เรื่อง

การเปลี่ยนแปลงของโลกระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์. สงขลา:

มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณาตยา พาบัว. (2560). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนบึงกอก-หนองกุลาจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต.

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

นลินนิภา ชัยกาศ. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับเกมกระดานที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานบนโลกของเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา

หลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2550). กระบวนการออกแบบย้อนกลับการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบการสอน

อิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญนิภา ชัยณรงค์ และจิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ภารดี กล่อมดี. (2561). ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้

ชุดแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E). วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุ่งนภา นรมาตย์. (2556). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เงิน

โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์

การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โรงเรียนบ้านกระจาย. (2564). รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านกระจาย. ยโสธร: โรงเรียนบ้านกระจาย.

วันทนา งาเนียม. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครสวรรค์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). ผลการทดสอบระดับชาติ Onet ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2565, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/Individualweb/Mobile/

frmStdGraphScoreMobile.aspx

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ แนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล.

กรุงเทพฯ: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่นซัพพลายส์.

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2558). หลักการจัดการเรียนรู้. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Kittipak, C. and Wittaya, W. (2021). The Development of Scientific Reasoning Ability on Concept of Light

and Image of Grade 9 Students by Using Inquiry-Based Learning 5E with Prediction Observation

and Explanation Strategy. Journal of Education and Learning, 10(5), 728-750.

Li Zhao, Wei He, Xiaohong Liu, Kai-Hsin Tai, Jon-Chao Hong. (2021). Exploring the effects on fifth graders

concept achievement and scientific epistemological beliefs: applying the predictionobservation-

explanation inquiry-based learning model in science education. Journal of Baltic Science Education,

(4), 652-659.

Petros, L., Sylvester, A., Sara de Freitas, Panagiotis, P. and lan Dunwell. (2021). Science teachers’ experiences

of inquirybased learning through a serious game: aphenomenographic perspective. Coventry:

Coventry University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30