การพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและการใช้รูปกาลภาษาอังกฤษ โดยผ่านการสอนกลวิธีการตั้งคำถามของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การอ่านภาษาอังกฤษ, รูปกาล, กลวิธีการตั้งคำถามบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนกลวิธีการตั้งคำถามที่ผู้เรียนสร้างขึ้นโดยผ่านการสอนด้วยยุทธวิธี
การตั้งคำถามที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและการใช้รูปกาล โดยผู้วิจัยได้กำหนดให้มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน ดำเนินการโดยมีกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 30 คน ที่ได้ลงทะเบียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ในภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2564 คัดเลือกมาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มควบคุม 15 คน และกลุ่มทดลอง 15 คน โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ด้านความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้านการใช้รูปกาล ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนยุทธวิธีการตั้งคำถาม มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม ทั้งในด้านการอ่านและการใช้รูปกาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
Bae, C. L., Therriault, D. J. and Redifer, J. L. (2019). Investigating the testing effect: Retrieval as a characteristic of effective study strategies. Learning and Instruction, 60(2), 206–214.
Bugg, J. M. and McDaniel, M. A. (2012). Selective benefits of question self-generation and answering for remembering expository text. Journal of Educational Psychology, 104(2), 922–931.
Carrell, P. L. (1988). Interactive text processing: Implication for ESL/Second Language Reading Classrooms. New York: Cambridge University Press.
Dorkchandra, D. (2013). The Effects of Question Generating Strategies Instruction on EFL Freshmen’s Reading Comprehension and Use of English Tenses. Journal of Liberal Arts Prince of Songkla University, 5(2), 33-45.
Kamalizad, J. and Jalizadehb, K. (2011). On the Effect of Question-Generation Reading Strategy on the Reading Comprehension of Iranian Intermediate EFL Learners. Int J Cur Bio Med Sci, 1(4), 136-139.
Mckenna, M. C. and Stahl, K. A. D. (2009). Assessment for Reading Instruction (2nd ed.). New York: Cambridge University Press.
Nazari, M. (2012). The effect of cooperative student-generated questions on their achievements. The Iranian EFL Journal, 8(6), 281-288.
Pan, S. C. and Rickard, T. C. (2018). Transfer of test-enhanced learning: Meta-analytic review and synthesis.
Psychological Bulletin, 144, 710–756.
Pardo, L. S. (2010). What every teacher needs to know about omprehension. In Cappello, M. and Moss, B.(eds) Contemporary Readings in Literacy Education, Thousand Oaks, California: Sage.
Song, D. (2016). Student-generated questioning and quality questions: A literature review. Research Journal
of Educational Studies and Review, 2, 58–70.
Weinstein, Y., McDermott, K. B. and Roediger, H. L. (2010). A comparison of study strategies for passages:
Rereading, answering questions, and generating questions. Journal of Experimental Psychology: Applied, 16(2), 308–316.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว