ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ปัญหา, แนวทางการพัฒนา, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด กลุ่มที่ศึกษาได้จากการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักศึกษา 62 คน อาจารย์นิเทศก์ 8 คน ครูพี่เลี้ยง 62 คน รวม 132 คน เก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 1/2565 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ ตอนที่ 2 สภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตอนที่ 3 แนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษามีดังนี้ 1.1) ระดับปัญหาตามความเห็นของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่มากที่สุด คือ ด้านการเตรียมการสอน 1.2) ระดับปัญหา
ตามความเห็นของอาจารย์นิเทศ มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่มากที่สุด คือ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน 1.3) ระดับปัญหาตามความเห็นของครูพี่เลี้ยงมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่มากที่สุด คือ ด้านสื่อการสอน
2) แนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้านการเตรียมการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษาควรศึกษาเนื้อหาล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ด้านการวิจัยตามความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ ควรมีการเตรียมการวิจัยก่อนออกฝึก และควรมีการปรึกษากับอาจารย์นิเทศก์อย่างต่อเนื่อง ด้านสื่อการสอนตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง ควรศึกษาเนื้อหา
ก่อนทำการสอนเพื่อเตรียมสื่อการสอนที่เข้าใจได้ง่าย
References
เทอดทูน ค้าขาย, เกษฎา สาลา และอรอุมา ปราชญ์ปรีชา. (2562). การศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน คณะศึกษาศาสตร์. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 6(2), 33-46.
ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาคณะศิลปศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1.
มิถุนายน 2559. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา. 796–806.
ปริญ รสจันทร์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างทักษะการอยู่ร่วมกันสำหรับครู
ในจังหวัดร้อยเอ็ด. การประชุมวิชาการระดับชาติ Teacher Education Conference (TEC) ครั้งที่ 2. 26-27
พฤศจิกายน 2565. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 245–258.
มนัสวี ศรีนนท์ และมฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2562). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารพุทธมัคค์, 4(1), 15–22.
เมธาวี ศรีสิงห์ และศราวุธ อินทรเทศ. (2562). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารครุศาสตร์
อุตสาหกรรม, 18(3), 215–223.
รณิดา เชยชุ่ม. (2559). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน
และฝึกประสบการณ์วิชาชีพมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 213–134.
ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2560). แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 37(1), 203–222.
สุขแก้ว คำสอน และสวนีย์ เสริมสุข. (2561). การศึกษาสภาพการฝึกปฏิบัติในชุดวิชา “การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2
(Internship II)” นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสาร Veridian E-Journal
ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2936–2950.
สุจินดา ม่วงมี. (2549). บทบาทและความรับผิดชอบของอาจารย์นิเทศก์ตามการรับรู้ของนิสิตฝึกสอน อาจารย์พี่เลี้ยง
และอาจารย์นิเทศก์. วารสารศึกษาศาสตร์, 17(2), 31–46.
อรรณพ แสงแจ่ม. (2548). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภายหลังการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของนิสิตฝึกสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Acheson, K. and Gall, M. (1980). Techniques in the Clinical Supervision of Teachers: Perspective and Inservice
Applications. New York: Longman.
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Testing (4th ed.). New York: Harper & Row.
Masami, I. (2010). Lesson Study: Problem Solving Approaches in Mathematics Education as a Japanese
Experience. (ICMER 2010). Procedia Social and Behavioral Sciences, 8(2010), 17-27.
Lampadan, N. (2014). Understanding the Causes of Anxiety and Coping Strategies of Student teachers during
Their Internship. A Phenomenological Study, 10(2), 34-45.
Title, C. (1974). Student Teaching: Attitudes and Research Bases for Change in School and University.
New Jersey: Scarecow.
Yee, A. (1967). The Student Teaching Triad: The Relationship of Attitudes Among Student Teachers,
College Supervisors, and Cooperating Teachers. Texas: The University of Texas.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว