การพัฒนาแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ภทรกมล นันตะนะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • บุญชม ศรีสะอาด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาแบบวัดทักษะ, แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 390 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มี 1 ฉบับ คือแบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษ 2 รายการ ได้แก่ การพูดบรรยายภาพ และการพูดอภิปราย แต่ละรายการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษ 5 ด้าน ได้แก่ การออกเสียง การใช้ไวยากรณ์ ความคล่องแคล่ว การใช้คำศัพท์ ความเข้าใจ โดยทำการทดลองครั้งที่ 1 ถึง 4 เพื่อปรับปรุงแก้ไข โดยหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด ค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต 2 คน และการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ การทดลองครั้งที่ 5 เพื่อหาคุณภาพโดยหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด ค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต 2 คน และการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ ผลการวิจัยปรากฏว่า

1) ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยของการบรรยายภาพ มีค่า 0.83 ถึง 0.89 และค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยของการอภิปราย มีค่า 0.77 ถึง 0.88 2) ค่าความเชื่อมั่นเฉลี่ย การบรรยายภาพและการอภิปราย มีค่า 0.95 3) ค่าความเชื่อมั่นเฉลี่ยของผู้ตรวจให้คะแนนหรือผู้สังเกต 2 คน การบรรยายภาพ มีค่า 0.97 การอภิปราย มีค่า 0.98 4) ค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพเฉลี่ย การบรรยายภาพ มีค่า 0.83 การอภิปราย มีค่า 0.81

References

บุปผา อยู่ทรัพย์. (2555). การพัฒนาการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ผ่านการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. วารสารวิจัย มสด, 8(2), 189–204.

ปณิชา ชัยกุลภัทรโชติ. (2562). การพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา.

วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา. พิษณโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เผียน ไชยศร. (2529). การวัดผลงานภาคปฏิบัติ. วารสารวัดผลการศึกษา, 8(23), 27–61.

เยาวเรศ ปริวันตา. (2555). พัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรัญญา แสงเพ็ชร. (2562). การพัฒนาแบบวัดทักษะด้านจริยธรรม การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการทำงานเป็นทีม เพื่อคัดกรองพนักงานใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วันเพ็ญ จันทสุวรณ์. (2550). การพัฒนาแบบทักษะทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลทางการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2559). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2560, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2537). การวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สังวาลย์ โพนพุทธ. (2556). การพัฒนาแบบวัดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรพรรณ วีระวงศ์. (2554). เด็กไทยเรียนอังกฤษเพื่อสอบมากกว่านำมาใช้ในชีวิตประจำวัน. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2562,

จาก http://www.manager.co.th/%0A%09 campus/viewnews.aspx?newsID=9540000155943%0A

อารีรักษ์ มีแจ้ง และสิริพร ปาณาวงษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

สำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 17–31.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2558). การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดสำหรับการประเมินคุณภาพผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.

วารสารวิจัยทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 9(1), 195–206.

อำนาจ ไพนุชิต. (2561). ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดการรับรู้สติของครูและผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1-2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 294–310.

Naisbitt, J. (1994). Global Paradox. New York: William Morrow and Company.

Sasson, D. (2007). Improve speaking skills: tips and techniques for speaking and presentation skills.

Retrieved July 1, 2019, from http://www.suite101.com/content/improve-speaking-skills-a31594

Shumin, K. (2002). Developing Adult EFL Students’ Speaking Abilities. Cambridge: Cambridge University Press.

Tribolet, C. (2012). Using Cognitive Strategies to Improve English Speaking Skill and Self-confidence.

American Journal of Education Sciences, 2(3), 36-40.

Ur, P. (1998). A course in English Teaching Trainee. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-01