การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สิริกัลยา สุขขี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • พิศาล สุขขี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการจัด
การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในช่วงการระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การกำหนดเกณฑ์ร้อยละ แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเทียบสัดส่วนตามขนาดของประชากรในแต่ละชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์
จากชั้นปีที่
1 - 4  จำนวน 113 คน ที่ผ่านการเรียนแบบผสมผสานในทุกรายวิชา ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 6 ด้าน ประกอบด้วย
ข้อคำถามจำนวน 36 ข้อ
และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบ t ค่าสถิติทดสอบค่า F และสถิติเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ โดยรวมพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบตามชั้นปีโดยรวมพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน และ 3) ผลการศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนพบว่า ผู้สอนควรพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนในด้านเนื้อหาและสื่อการเรียน ผู้เรียนควรปรับปรุงความรับผิดชอบส่วนบุคคล มีวินัยในตนเอง และมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับความต้องการด้านการศึกษาในอนาคตได้

References

กัลยาณี ตันตรานนท์ และ วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานต่อผลลัพธ์ในการเรียนรู้ในกระบวนวิชาวิทยาการระบาด. พยาบาลสาร, 44(3), 144-152.

เกวลี ผังดี และ พิมพ์ระดา ครองยุติ. (2556). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จารุวรรณ เทวกุล. (2555). ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรมชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนัญชิดา ทุมมานนท์, ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ, ชุติมา สุรเศรษฐ, จรินทร วินทะไชย, ชนิดา ตันติเฉลิม และดุสิตา ทินมาลา. (2564). ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อระดับการยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 140-151.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ทิศนา แขมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมาภรณ์ เวียงวิเศษ และ ทวี สระน้ำคำ. (2560). ผลของบทเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีโครงสร้างกลุ่มต่างกันเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 57-65.

ปิยาพร สินธุโคตร และ สุนทรี มอญทวี. (2563). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 ของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 47(1), 158-171.

ภาษกร แจ่มหม้อ, สุริศักดิ์ ประสารพันธ์, วารีรัตน์ แก้วอุไร และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาแบบผสมผสานโดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมความใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 37-49.

มนชิดา ภูมิพยัคฆ์, ทวี สระน้ำค้า และไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บผสมผสานด้วยเทคนิคการเรียนร่วมกันเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 38-47.

ศราวุธ เรืองสวัสดิ์, ปภาสินี แซ่ติ๋ว และ ปิยรัตน์ ชูมี. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานต่อทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษธานี. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1), 235-244.

เศรษฐา วีระธรรมานนท์ และอารีรัตน์ ใจประดับ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(ฉบับพิเศษ), 227-240.

สมชาย บุญสุ่น. (2554). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อภิชาติ อนุกูลเวช. (2564). การเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564,

จาก http://abhichatdotcom.blogspot.com/2012/04/blended-learning.html

อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ และเรมวล นันท์ศุภวัฒน์. (2556). ความพึงพอใจและผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในกระบวนการวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 40(ฉบับพิเศษ), 47-60.

อรวรรณ ธนูศร. (2561). ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Allen, I. E., Seaman J. and Garrett, R. (2007). Blended in the Extent and Promise of Blended Education in the United State. Retrieved November 5, 2021, from https://www.bayviewanalytics.com/reports/blending-in.pdf

Anggoro, K. J. and Teerputon, D. (2018). The Intergration of Co-Teaching and Blended Learning to Improve Students’ English Skill in Thailand. Journal of Education Naresuan University, 20(3), 264-276.

Baczek, M., Zagancxyk-Baczek, M., Szpringer, M., Jaroszynski, A. and Wozakowska-Kaplon, B. (2021). Students’ Perception of Online Learning during the COVID-19 Pandemic: A Survey Study of Polish Medical Students. Medicine, 100(7).

Dhawan, S. (2020). Online Learning: A Panacea in the Time COVID-19 Crisis. Journal of Educational Technology Systems, 49(1), 5-22.

Fadillah, A., Nopitasari, D. and Pradja, P. B. (2020). Blended Learning Model During the Covid-19 Pandemic: Analysis of Student’s Mathematical Disposition. Jurnal Teori dan Aplikasi Matematika (JTAM), 4(2), 173-181.

He, J. and Freeman, L. A. (2010). Are Men More Technology- Oriented Than Women? The Role of Gender on the Development of General Computer Self-Efficacy of College Students. Journal of Information Systems Education, 21(2), 203-212.

Pokhrel, S. and Chhetri, R. (2021). A Literature Review on Impact of COVID-19 Pandemic on Teaching and Learning. Higher Education of the future, 8(1), 133-141.

Yan, M. D., Yulei, G. Z., Sury, R. and Talai, O. (2016). Examining Student Satisfaction and Gender Differences in Technology-Supported, Blended Learning. Journal of Information Systems Education, 27(2), 119-130.

Zhao, G. D. and Yuan, S. (2010). Factor Affecting Students’ Satisfaction in Blended Learning: the case of Peking Unersity. Distance Education in China, 6, 32-38.

Zhonggen, Y. (2021). The effects of gender, educational level, and personality on online learning outcomes during the COVID-19 Pandemic. International Journal of Educational Technology in Higher Education, 18(14), 1-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-29

How to Cite

สุขขี ส., & สุขขี พ. (2023). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ . วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 17(1), 154–167. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/255592