การพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้โครงสร้างข้อความ

ผู้แต่ง

  • พิสิทธิ์ จิตติสุขพงษ์ College of General Education and Languages, Thai-Nichi Institute of Technology
  • กฤษณะ โฆษชุณหนันท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ, โครงสร้างข้อความ

บทคัดย่อ

  การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่กลับเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ผู้เรียนต้องการอ่านภาษาอังกฤษ
ทั้งในและนอกห้องเรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขอบเขตของโครงสร้างข้อความที่สามารถช่วยให้นักศึกษา
ชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการอ่านผ่านการใช้โครงสร้างข้อความ กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 20 คน  ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 8 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
แผนการสอน แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่าน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผู้วิจัยได้ทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการสอน ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างของคะแนนโดยใช้สูตร t-test แบบ dependent group ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนของนักศึกษาที่ได้จากการทดสอบหลังการสอน โดยใช้เทคนิคโครงสร้างข้อความสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษผ่านการใช้โครงสร้างข้อความ

References

Blachowicz, C. and Ogle, D. (2008). Reading Comprehension: Strategies for Independent Learners (2nd ed.). New York: The Guilford Press.

Boonrueang, L. (2019). The Development of English Reading Comprehension and Analytical Thinking Skills of Mattayomsuksa 5 Students by Using Learning Activity Package Based-on Concept Map and Cooperative Learning. Journal of Roi Et Rajabhat University, 13(2), 30-40.

Farrell, T. S. C. (2009). Teaching Reading to English Language Learners: A Reflective Guide. Thousand Oaks. CA: Corwin Press.

Gerster, R., Fuchs, L. S., Williams, J. P. and Baker, S. (2008). Teaching Reading Comprehension Strategies to Students with Learning Disabilities: A review of research. Review of Educational Research, 71, 279-320.

Jittisukpong, P. (2019). Using Semantic Mapping in Teaching English Reading Skills of Thai EFL Learners. Journal of Roi Et Rajabhat University, 13(2), 201-214.

Koda, K. (2008). Insights into Second Language Reading, New York: Cambridge Press.

Mckenna, M. C. and Stahl, K. A. D. (2009). Assessment for Reading Instruction (2nd ed.). New York: Cambridge University Press.

Meyer, B. J. F. and Wijekumar, K. (2007). A Web-based Tutoring System for the Structure Strategy: Theoretical Background, design and findings, in McNamara, D.S.(ed.) Reading Comprehension Strategies: Theories, Interventions and Technologies, New York: Lawrence Erlbaum Associates.

Pardo, L. S. (2010). What every teacher needs to know about comprehension. in Cappello, M. and Moss, B.(eds) Contemporary Readings in Literacy Education, Thousand Oaks, CA: Sage.

Rattanavich, S. (1990). The Effects of Using Top-Level Structure Instructional Modules and Traditional Teaching Method in Teaching English to Thai students. Project Report Seameo; RELC Fellowship Grant.

Suphachaturas, R. (2010). A Comparison of Matayomsuksa III Students’ Reading Comprehension and Writing Ability through the Method of Using TLS and the Method in the Teacher’s Manual. Master’s Thesis of Education. Bangkok: Srinakarinwirot University.

Threster, C. (Ed.). (2004). Strategies for Content Area Reading. Merrimack, NH: Options Publishing.

Weerasilp, P. (2005). The Effects of Using Text Structure in Teaching English Reading on Achievement, Motivation and Retention of Junior High school Students. Master’s Thesis of Curriculum and Supervision. Bangkok: Silpakorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

How to Cite

จิตติสุขพงษ์ พ., & โฆษชุณหนันท์ ก. (2022). การพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้โครงสร้างข้อความ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(3), 18–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/254176