การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแบบจำลองไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • เอกรัตน์ จันทร์หอม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • จิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความสามารถในการแก้ปัญหา, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น, แบบจำลองไฟฟ้า

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแบบจำลองไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา
ก่อน และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแบบจำลองไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนม่วงมิตรวิทยาคม จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแบบจำลองไฟฟ้า จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง และ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 33 ข้อ แบ่งเป็นข้อปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และอัตนัย 3 ข้อ โดยใช้แบบวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น แบบ One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน
และวิธีการทางสถิติด้วยการทดสอบวิลค็อกซัน (Wilcoxon signed ranks test)

              ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแบบจำลองไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.33/76.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่ 75/75 และนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จรรย์สมร เหลืองสมานกุล. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุไรรัตน์ สอนสีดา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหา ตามเทคนิคของโพลยา ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาญวิทย์ คำเจริญ. (2563). การตรวจสอบการใช้แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริงสำหรับการสอนไฟฟ้ากระแสตรง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2), 25-37.

ชินตา สุภาชาติ. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ตามวงจรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน (7E) เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐนา เมืองโคตร. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องชีวิตพืชระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(65), 209-216.

ธันยรัตน์ พลเยี่ยม. (2560). การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัม และการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปาระมี เกตุภูวงษ์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้กับวิธีใช้สถานการณ์จำลอง เรื่องแรงและความดันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคำเหมือดแก้วบำเพ็ญวิทยา จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารศึกษาสาตร์ มสธ, 1(2), 155-170.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนม่วงมิตรวิทยาคม. (2562). รายงานการประเมินผลการเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2562. ร้อยเอ็ด: โรงเรียนม่วงมิตรวิทยาคม.

มุทิตา พูนวิเชียร. (2561). ผลการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาและการคิด วิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 113-125.

สุกสาคอน สุลิวง และปริญา ปริพุฒ (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬา แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 68-76.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). การจัดทำแผนพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Bardo, J. W. and Hartman, J. J. (1982). Urban sociology : A systematic introduction. New York: F.E.Peacock.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model: A Proposed 7E Model Emphasizes Transferring Learning and the Importance of Eliciting Prior Understanding. The Science Teacher, 70(6), 56-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

How to Cite

จันทร์หอม เ., & วงศ์คำจันทร์ จ. (2022). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแบบจำลองไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 . วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(3), 199–210. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/253956