การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น, เกมวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา จำนวน 44 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสมดุลกล จำนวน 40 ข้อ ประกอบด้วยข้อสอบปรนัย จำนวน 35 ข้อ และข้ออัตนัย จำนวน 5 ข้อ โดยใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงทดลองแบบแผนการทดลองขั้นตน (Pre-Experimental Design) แบบ One Group Pretest -Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลที่โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน และวิธีการทางสถิติด้วยการทดสอบวิลค็อกซัน (Wilcoxon signed ranks test)
ผลการวิจัย พบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ เรื่องสมดุลกล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.17/76.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ และนักเรียน
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กลุ่มสารสนเทศกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาฟิสิกส์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563, จาก https://sgs.bopp-obec.info/โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา
กลุ่มสารสนเทศกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาฟิสิกส์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563, จาก https://sgs.bopp-obec.info/โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา
กลุ่มสารสนเทศกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาฟิสิกส์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563, จาก https://sgs.bopp-obec.info/โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา
ขวัญพัฒน์ ไกรศรีทุม. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านผาซ่อนโชคชัย จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลับสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชินตา สุภาชาติ. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามวงจรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน (7E) เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ช่อผกา สุขุมทอง (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลกระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทรงศรี สรณสถาพร. (2560). ผลสัมฤทธิ์ของการใช้เกมโมเมนต์ความเฉื่อยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. TSJLD, 1(1), 141-157.
นฤมล โสรสาน. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา การคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สุกสาคอน สุลิวง และปริญา ปริพุฒ (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬา แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 68-76.
American Association for the Advancement of Science. (1970). Science a Process Approach Commentary for Teacher. Washington D.C.: AAAS.
Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model: A Proposed 7E Model Emphasizes Transferring Learning and the Importance of Eliciting Prior Understanding. The Science Teacher, 70(6), 56-59.
National Research Council. (1996). National science education standards. Washington DC: National Academic. The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2011). PISA Thailand. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology.
Abell, S. K. (2002). Trends and Issues in Science Education: Research Policy and Practice in Teaching Science as Inquiry.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว