การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะนวัตกรรม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ทักษะนวัตกรรม, ฟิสิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม
แบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินทักษะนวัตกรรมของนักเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะนวัตกรรมเป็นทักษะสำคัญที่ต้องนำมาใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
จากการศึกษาข้อมูลพบว่านักเรียนมีทักษะนวัตกรรมอยู่ในระดับต่ำ การจัดสภาพการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะนวัตกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ยังมีการใช้ในระดับน้อยมาก 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะนวัตกรรมของนักเรียน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เป็น 5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นระบุเป้าหมาย 2) ขั้นระดมสมอง 3) ขั้นประดิษฐ์ชิ้นงาน 4) ขั้นทดลองใช้ และ 5) ขั้นสรุปผล 3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะนวัตกรรมของนักเรียน พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ทรงศักดิ์ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ธงชัย โรจน์กังสดาล. (2559). Innovative Thinking Skills: ค้นหาทักษะในการเป็นผู้สร้างสรรค์ที่เหมาะกับตัวคุณ. กรุงเทพฯ: พีเพิล แวลู โซลูชั่น โพรไวเดอร์.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2552). การสอนทักษะการคิด. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก: บั๊วกราฟฟิค.
โรงเรียนรมย์บุรีพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา 2562. บุรีรัมย์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์.
วิเชียร ไชยบัง. (2561). วุฒิภาวะของความเป็นครู (พิมพ์ครั้งที่ 9). บุรีรัมย์: เรียนนอกกะลา.
สกุลรัตน์ แก้วสมบัติ. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการแปรรูปอาหารโดยการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ส่งผลต่อทักษะปฏิบัติ ความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 114-125.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2558). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค .
Australian National Training Authority (ANTA). (2001). Innovation: Ideas That Work for Trainers of Innovation at Work Skills. Brisbane: Australian National Training Authority.
Barkley, E. F., Cross, K. P., & Major, C. H. (2014). Collaborative Learning Techniques: a handbook for college faculty (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons: 83-90.
Bellanca, J. A. (2010). 21st century skills: Rethinking how students learn. United States: Solution Tree Press.
Bender, W. N. (2012). Project-based learning: Differentiating instruction for the 21st century. United States: Corwin.
Desai, K. C. (2018). Cultivate the Habit of Innovative Thinking: To Strengthen Your Professional Career and Enhance Your Personality. India: Educreation Publishing. 243–253.
Drapeau, P. (2014). Sparking student creativity: Practical ways to promote innovative thinking and problem solving. Virginia USA: ASCD.
Edwards, A. (2012). New technology and education. London: A&C Black.
Horth, D. and Buchner, D. (2009). Innovation Leadership: How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results. London: Center for Creative Leadership.
Joyce, B., Weil, M. and Calhoun, E. (2014). Models of Teaching (9th ed.). Boston: Pearson Education.
Kay, K. (2010). 21st Century Skills: Why the Matter, What They are, and How We Get There. In Bellanca, J. & Brandt, R. (Eds.), 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, In: Solution Tree Press.
Knirk, F. G. and Gustafson, K. L. (1986). Instructional Technology: A Systematic Approach to Education. Florida: Holt, Rinehart and Winston.
Kolb, D. A. (2015). Experiential learning: Experience as the source of learning and development (2nd ed.). United States: Pearson Education.
Lee, C. and Benza, R. (2015).Teaching Innovation Skills: Application of Design Thinking in a Graduate Marketing Course. Business Education Innovation Journal, 7(1), 43-50.
Ma, Y. (2014). Innovative Thinking Plays Important Role in Graphic Design. International Conference on Education, Management and Computing Technology (ICEMCT 2014). June 14-15, 2014. Qingdao Binhai University, Chaina.
Weiss, D. S. and Legrand, C. (2011). Innovative Intelligence: The art and practice of leading sustainable innovation in your organization. New York: John Wiley & Sons.
Wheeler, J. (1998). The Power of Innovative Thinking: Let New Ideas Lead You to Success. Career PressInc.
Zhu, C., Wang, D., Cai, Y. and Engels, N. (2013). What core competencies are related to teachers' innovative teaching?. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 41(1), 9-27
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว