การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในสถานศึกษา ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, โรงเรียนพระราชทานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในสถานศึกษา
ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร
ในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน จำนวน 29 โรงเรียน จำนวน 440 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน มี 5 องค์ประกอบ 17 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเรียงตาม
ค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย คือ ความยืดหยุ่นและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากัน รองลงมา คือ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และด้านวิสัยทัศน์ และ 2) ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-Square= 68.18 ค่า df = 62 x2/df = 1.10 ค่า p = 0.27 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.98
ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.95 และค่าประมาณความคลาดเคลื่อนรากที่สองเฉลี่ย (RMSEA) = 0.02
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายชื่อนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จารินี สิกุลจ้อย. (2557). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
จุฑามาส ซุ่มห้วน. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ธีระ รุญเจริญ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลสิเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด และสุริทอง ศรีสะอาด. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
พัฒนวงศ์ ดอกไม้. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สุโขทัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภรณ์ทิพย์ ปั้นก้อง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
มณฑาทิพย์ เสยยงคะ. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยงยุทธ ไชยชนะ. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด,14(2), 165-175.
รัชนีเพ็ญ พลเยี่ยม. (2560). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
วัฒนา ปะกิคา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน. ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิรดา แพงไทย. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารมหาจฬุานาครทรรศน์, 6(7), 3,304-3,308.
สใบแพร สัพโส. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุขพัชรา ซิ้มเจริญ. (2556). โครงสร้างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้นิเทศภายในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). จะปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลจริงได้อย่างไร รายงานเรื่องภาวะการศึกษาไทย ปี 2552-2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยและพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). คู่มือการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.
อมรรัตน์ งามบ้านผือ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยม ศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Kaminker, J. P. (2011). The Leadership Factor. London. United Kingdom: Collier Macmillan.
Likert, R. (1976). New way and Managing Conflict. NewYork: McGraw-Hill.
Parker, J. P. and Begnaud, L. G. (2004). Developing Creative Leadership. New Hampshire: ortsmouth.
Sousa, D. (2003). The Leadership brain: How to lead today's schools more effectively. Thousand Oaks: Sage.
Stoll, L. and Temperley, J. (2009). Creative leadership theme. Journal of Management in Education, 23(1), 12-18.
Ubben, G. C., Hughes, L. W. and Norris, C. J. (2010). The Principal: Creative Leadership for Excellence in Schools (7th ed.). Boston: Pearson.
Zaccaro, S. J. and D. Banks. (2004). Leader Visioning and Adaptability: Bridging the Gap Between Research and Practice on Developing the Ability to Manage Change. Human Resource Management, 43(4), 367-380.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว